ให้นักเรียนค้นคว้าในเรื่องต่อไปนี้ แล้วตอบลงในบล็อกของนักเรียน
1. กฎหมาย คืออะไร?
ตอบ กฏหมาย คือ ข้อบังคับของรัฏฐาธิปัตย์ที่บัญญัติเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของพลเมืองใครฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษ
2. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอะไรบ้าง?
ตอบ 1.ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของผู้อำนาจในรัฐ(รัฏฐาธิปัตย์)
2.ใช้ได้ทั่วไป
3.ใช้ได้เสมอไป
4.ต้องมีโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม
3. กฎหมายมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร?
ตอบ 1.กฎหมายสรัางความเป็นระเบียบเรียบร้อยแก่สังคมและประเทศชาติ
2.การบริหารราชกาแผ่นดินและการปกครองบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
3.สังคมจะสงบสุขเมื่อทุกคนปฏิบัติตามกฎหมาย
4.กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่สำคัญเพื่อก่อให้เกิดความยุติธรรม
5.กฎหมายสร้างความเท่าเทียมในความเป็นมนุษย์
4. การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีการแบ่งตามหลักเกณฑ์ใดบ้าง?
ตอบ 1.สภาพบังคับ
2.ลักษณะการใช้
3.ฐานะและความสัมพันธ์ของรัฐและปะชาชน
5. ให้นักเรียนเขียน ศักดิ์ หรือลำดับชั้นของกฎหมาย เรียงจากสูงไปหาต่ำ?
ตอบ 1.รัฐธรรมนูญ
2.พะราชบัญญัติ ประมวลกฏหมาย พระราชกำหนด พระบรมราชโองการ
3.พระราชกฤษฏีกา
4.กฏกระทรวง
5.เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติอบต.และอบจ.และกทม.และเมืองพัทยา
6. ที่มาของกฎหมายในระบบ Civil Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ 1.กฏหมายลายลักษณ์อักษร
2.จารีตประเพณี
3.หลักกฏหมายทั่วไป
7. ที่มาของกฎหมายในระบบ Common Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ 1.จารีตประเพณี
2.คำพิพากษาของจารีตประเพณี
3.กฏหมายลายลักษณ์อักษร
4.ความเห็นของนักนิติศาสตร์
5.หลักความยุธิธรรมหรือมโนธรรมของผู้พิพากษา
8. ระบบกฎหมายในปัจจุบันมีกี่ระบบ ระบบใดบ้าง?
ตอบ มี2ระบบ
1.ระบบกฏหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Civil Law )
2.ระบบกฏหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common Law )
9. ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายใด?
ตอบ ระบบลายลักษณ์อักษร (Civil Law )
10. องค์ประกอบสำคัญของ "รัฐ" มีอะไรบ้าง
ตอบ 1.ดินแดน
2. ประชากร
3.รัฐบาล
4.อำนาจอธิปไตย
วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2012
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2012
![]() |
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2012 เป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีทุกสี่ปีครั้งที่ 57 และมีขึ้นในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ผู้ลงสมัครจากพรรคเดโมแครต กับรองประธานาธิบดีโจ ไบเดน คู่ลงสมัคร ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่สอง คู่แข่งคนสำคัญ คือ มิตต์ รอมนีย์ ผู้ลงสมัครจากพรรครีพับลิกันและอดีตผู้ว่าการรัฐแมสซาชูเซตส์ และวุฒิสมาชิกพอล ไรอัน คู่ลงสมัคร จากรัฐวิสคอนซิน
ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้เกิดขึ้นพร้อมกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาซึ่งวุฒิสมาชิกหนึ่งในสาม (33 ที่นั่ง) ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกสองปีเพื่อเลือกตั้งสมาชิกมายังสมัยประชุมสภาคองเกรสที่ 113 นอกจากนี้ ยังมีการเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐสิบเอ็ดรัฐและการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติในหลายรัฐพร้อมกันด้วย
โอบามา ชนะเลือกตั้ง เป็นประธานาธิบดีสหรัฐสมัยที่ 2 ติดต่อกัน

13.41 น. โอบามา ขึ้นเวทีแถลงชัยชนะ
13.17 น. Huffingtonpost รายงานคะแนนเลือกตั้ง โอบามา 303 รอมนีย์ 203 คะแนน
13.00 น. นายมิตต์ รอมนีย์ แถลงยอมรับผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างไม่เป็นทางการ หลังพ่ายแพ้ต่อ นายบารัก โอบามา ที่ได้รับเลือกเป็นผู้นำประเทศสมัยที่ 2 ติดต่อกัน
11.51 น. Huffingtonpost รายงานคะแนนเลือกตั้ง โอบามา 290 รอมนีย์ 203 คะแนน
11.40 น. บารัค โอบามา ทวีตขอบคุณหลังทราบว่าได้คะแนนคณะผู้เลือกตั้งแล้ว 275 เสียง เกินจากที่ต้องได้อย่างน้อย 270 เสียงเพื่อชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ แม้ว่าผลการนับคะแนนในหลายรัฐยังไม่ออกมาก็ตาม
11.38 น. CNN และ Fox News ประกาศ โอบามา ชนะการเลือกตั้ง
11.16 น. NBC ประกาศ โอบามา ชนะการเลือกตั้ง
11.15 น. ผลเลือกตั้ง โอบามา 275 รอมนีย์ 203 คะแนน
11.00 น. ผลเลือกตั้ง โอบามา 244 รอมนีย์ 193 คะแนน
ชาวอเมริกัน ทยอยใช้สิทธิ์เลือกตั้งประธานาธิบดี
สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน ว่า ชาวอเมริกันออกต่างทยอยออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งประธานาธิบดีอย่างคึกคัก ซึ่งโพลล์หลายสำนักต่างก็เผยผลการสำรวจว่า บารัค โอบามามีคะแนนนำ นายมิตต์ รอมนีย์อยู่เล็กน้อย
โดยโพลล์สำรวจความนิยมล่าสุดที่มีการเผยแพร่ออกมาในวันเลือกตั้ง พบว่า โพลส่วนใหญ่ ทั้ง พิว รีเสิร์ช , แกลลัพ โพล , เอบีซี นิวส์ , วอชิงตัน โพสต์ รวมถึง โพลล์ของซีเอ็นเอ็น พบว่า โอบามา ยังคงมีคะแนนนำรอมนีย์ อยู่ที่ร้อยละ 49 ต่อ 48% ส่วน เอ็กซิท โพลล์ ปรับตัวเลขล่าสุด ต่างรายงานว่า โอบามา นำ รอมนีย์ อยู่เล็กน้อยที่ 50 ต่อ 47 แต่ อย่างไรก็ตาม ต้องรอลุ้นผลการเลือกตั้งหลังลงคะแนนเสร็จสิ้น ขณะที่สองผู้ชิงชัยตำแหน่งผู้นำสหรัฐก็เตรียมรอลุ้นผลการนับคะแนนกันแล้ว
ทั้งนี้ ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ได้เดินทางกลับไปยัง ชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ซึ่งเป็นบ้านเกิด เพื่อเตรียมรอลุ้นผลการนับคะแนน หลังจากที่เขาใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าไป ตั้งแต่ปลายเดือนที่ผ่านมา
ขณะที่นายมิตต์ รอมนีย์ ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากพรรครีพับลิกัน ได้ควงคู่ แอนน์ ภรรยา ออกมาใช้สิทธิ์ที่หน่วยเลือกตั้งในมลรัฐแมสซาซูเซตส์แล้วในวันอังคาร ที่หน่วยเลือกตั้งบีช สตรีท เมืองเบลมอนท์ มลรัฐแมสซาซูเซตส์
การนับคะแนน ตลอดจนการติดตามทำนายผลของเครือข่ายโทรทัศน์ทรงอิทธิพลต่างๆ จะกระทำทันทีภายหลังการปิดหีบลงคะแนนในแต่ละมลรัฐ และคาดกันว่าชาวอเมริกันจะออกมาใช้สิทธิประมาณ 120 ล้านคน
ประมวลภาพการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2012



ดาวโจนส์, S&P, Nasdaq ดีดตัวขึ้นรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ที่จะมีขึ้นในนั้น โดยดาวโจนส์ปรับเพิ่ม 19.28 จุด

กลุ่มหมอผีในประเทศเปรูร่วมกันประกอบพิธีทางไสยศาสตร์ก่อนจะลงความเห็น ประธานธิบดีบารัค โอบามา จะเอาชนะ นายมิตต์ รอมนีย์ คู่แข่งคนสำคัญได้ ในการเลือกตั้งประธานธิบดีสหรัฐอเมริกา2012

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา มีบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก

บรรยากาศ การกล่าวสุนทรพจน์ ของประธานาธิบดี บารัค โอบามา แห่งพรรคเดโมแครต
โอบามา กล่าวสุนทรพจน์ ขอบคุณ หลังชนะเลือกตั้งปธน. สมัย2

สำนักข่าว Foxnews รายงาน ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี นายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐและเป็นผู้สมัครจากพรรคเดโมแครต ได้คะแนนเสียงคณะผู้แทนรวมทุกมลรัฐที่รู้ผลชี้ขาดล่าสุด สูงกว่านายมิตต์ รอมนีย์ ผู้สมัครจากพรรครีพับรีกัน โดยผลขั้นชี้ขาด เกิดขึ้นเมื่อเวลา 11.17 นาทีตามเวลาในประเทศไทย ในนาทีที่รู้ผลคะแนนชนะเลิศ 18 เสียงเพิ่มเติมจากรัฐโอไฮโอ ที่เป็นสวิง สเตท หรือ รัฐที่มีการแข่งขันสูง ทำให้นายโอบามา มีคะแนนเกินกว่าครึ่งหนึ่งของที่นั่งคณะผู้แทนทั้งหมด 270 เสียง ชนะเลิศการเลือกตั้ง ได้เป็นประธานาธิบดีต่อ เป็นสมัยที่สอง โดยผลการนับคะแนนล่าสุด คะแนนเสียงนายโอบามา ขยับขึ้นมานำเป็น 303 ต่อ 206 คะแนน
วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555
การปกครองของไทย
การปกครองของไทย
การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย
การก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยพ่อ ขุนผาเมือง กับ พ่อขุนบางกลางหาว ได้ร่วมกันขับไล่ขอมซึ่งมีอำนาจปกครองสุโขทัยอยู่ขณะนั้นออกไปได้สำเร็จ พ่อขุนบางกลางหาวขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ เมื่อพ.ศ.๑๗๙๑ มีพระนามว่า "พ่อขุนศรีอินทราทิตย์"
ลำดับพระมหากษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักรสุโขทัย
ลำดับ
|
พระนาม
|
ปีครองราชย์
|
ปีสิ้นสุดรัชกาล
|
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
๘
๙
|
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พ่อขุนบาลเมือง พ่อขุนรามคำแหง พระยาเลอไทย พระยางั่วนำถุม พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย) พระมหาธรรมราชาที่ ๒ พระมหาธรรมราชาที่ ๓ (ไสลือไทย) พระมหาธรรมราชาที่ ๔ (บรมปาล) |
รวม พ.ศ.๑๗๙๒
-
พ.ศ.๑๘๒๒
พ.ศ.๑๘๔๑
-
พ.ศ.๑๘๙๐
พ.ศ.๑๙๑๑
พ.ศ.๑๙๔๓
พ.ศ.๑๙๖๒
|
-
พ.ศ.๑๘๒๒
พ.ศ.๑๘๔๑
-
พ.ศ.๑๘๙๐
พ.ศ.๑๙๑๑
พ.ศ.๑๙๔๒
พ.ศ.๑๙๖๒
พ.ศ.๑๙๘๑*
|
* สิ้นสุดราชวงศ์พระร่วงและสุโขทัยอยู่ภายใต้อิทธิพลการปกครองของอยุธยา ตั้งแต่ พ.ศ.๑๙๘๑ - พ.ศ.๒๐๐๖ |

ในระยะแรกก่อตั้งกรุง
สุโขทัยนั้นมีอาณาจักรไม่กว้างขวางและประชาชนยังมีจำนวนน้อย
พระมหากษัตริย์จึงสามารถปกครองดูแลอย่างใกล้ชิด เหมือนพ่อปกครองลูก
เมื่อขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวางและมีประชาชนมากขึ้น จำเป็นต้องปรับปรุงการประครองใหม่ โดยพระเจ้าลิไทย ทรงนำหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาเป็นแนวในการปกครอง คำว่า มหาธรรมราชา หมายถึง พระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรม พระองค์ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน ซึ่งเป็นแนวทางการปกครองที่พระมหากษัตริย์สุโขทัยสมัยหลังยึดถือเป็นแบบ อย่างทุกพระองค์
เมื่อขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวางและมีประชาชนมากขึ้น จำเป็นต้องปรับปรุงการประครองใหม่ โดยพระเจ้าลิไทย ทรงนำหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาเป็นแนวในการปกครอง คำว่า มหาธรรมราชา หมายถึง พระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรม พระองค์ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน ซึ่งเป็นแนวทางการปกครองที่พระมหากษัตริย์สุโขทัยสมัยหลังยึดถือเป็นแบบ อย่างทุกพระองค์
ความเจริญรุ่งเรืองสมัยสุโขทัย
ลักษณะการปกครองในสมัยสุโขทัย
การปกครองในสมัยสุโขทัยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ
1.
สมัยสุโขทัยตอนต้น เริ่มตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ไปถึงสิ้นสมัยของพ่อขุนรามคำแหง
2.
สมัยสุโขทัยตอนปลายตั้งแต่สมัยพระยาเลอไทยไปถึงสมัยสุโขทัยหมดอำนาจ
การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น ( พ.ศ. 1792 -1841 )
หลังจากที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมาแล้วได้
พยายามขจัดอิทธิพลของขอมให้หมดไปจึงได้จัดระบบการปกครองใหม่เป็นการปกครอง
แบบไทย
ๆที่ถือว่าประชาชนทุกคนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน
โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว คือ
พระมหากษัตริย์ได้ปกครองประชาชนในฐานะบิดาปกครองบุตร
หรือที่เรียกว่าการปกครองแบบปิตุราชาธิปไตย
ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้คือ
1.
รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตย คือพระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นผู้ปกครองสูงสุด
ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย
2.
พระมหากษัตริย์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนเปรียบเสมือนบิดากับบุคร
ทำตัวเปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัว
พระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยตอนต้นจึงมีพระนามนำหน้าว่า พ่อขุน
3.
ลักษณะการปกครองระบบครอบครัวลดหลั่นกันเป็นชั้น ๆ
นอกจากพระมหากษัตริย์ทำตัวเปรียบเสมือนบิดาของราษฎรแล้ว ยังมีการจัดระบบการปกครอง
ดังนี้
-
ให้ครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมตัวกันเป็น บ้าน อยู่ในความดูแลของ
พ่อบ้าน
ผู้อยู่ภายใต้การปกครองเรียกว่า ลูกบ้าน
-
หลายบ้านรวมกัน เป็น เมือง ผู้ปกครองเรียกว่า ขุน
-
เมืองหลายเมืองรวมกันเป็น อาณาจักร อยู่ในการปกครองของ พ่อขุน
แสดงให้เห็นว่านอกจากพ่อขุนผู้เป็นประมุขสูงสุดแล้ว
ยังมีผู้ปกครองที่ได้รับมอบหมายจากพ่อขุน
ทำหน้าที่เป็นกลไกในการปกครองด้วย
4.
พระมหากษัตริย์ทรงยึดหลักธรรมทางศาสนาในการบริหารบ้านเมือง
และทรงชักชวนให้ประชาชนปฏิบัติธรรม
เพื่อที่จะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
นอกจากนี้ในสมัยสุโขทัยตอนต้นยังมีการปกครองแบบทหารแอบแฝงอยู่ด้วยเนื่องจากในระยะแรกตั้งสุโขทัยมี
อาณาเขตแคบ ๆ
ประชาชนยังมีน้อยดังนั้นทุดคนจึงต้องมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศเท่าๆกันจึงกำหนดว่า
วลาบ้านเมืองปกติประชาชนต่างทำมาหากินแต่เวลาเกิดศึกสงคราม
ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเป็นทหาร โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นจอมทัพ
การปกครองในสมัยสุโขทัยตอนปลาย (พ.ศ. 1841-1981 )
หลังจากที่พ่อชันรามคำแหงสวรรคตในพ.ศ.
1841แล้วอาณาจักรสุโขทัยเริ่มระส่ำระสายพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อมาเริ่มอ่อนแอ
ไม่สามารถรักษาความมั่นคลของอาณาจักรไว้ได้ เมืองหลายเมืองแยกตัวออกไปเป็นอิสระ
สภาพการเมืองภายในเกิดปัญหาการสืบราชสมบัติ
รูปแบบการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมสลายลง
เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคงเพียงพอ จนกระทั่งสมัยพระยาลิไทย
ซึ่งขณะนั้นปกครองอยู่ที่เมือง
ศรีสัชนาลัยได้ยกกำลังเข้ายึดเมืองสุโขทัยและปราบศัตรูจนราบคาบบ้านเมืองจึงสงบลง
เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 1 ( ลิไทย ) ขึ้นครองราชย์สมบัติในปี 1890
ทรงตระหนักถึงความไม่มั่นคงภายใน
ประกอบกับเวลานั้นกรุงศรีอยุธยาที่ตั้งขึ้นมาใหม่กำลังแผ่ขยายอำนาจจนน่ากลัวจะเกิดอันตรายกับสุโขทัย
พระมหาธรรมราชาที่ 1 ( ลิไทย )
ทรงเห็นว่าการแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยการใช้อำนาจทางทหารอย่างเดียวนั้นไม่
สามารถทำได้
เพราะอำนาจทางการทหารในสมัยของพระองค์นั้นไม่เข้มแข็งพอ
จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย
โดยทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา ทรงเป็นผู้ปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่าง
และได้ทรงสร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาไว้ทั่วไปเพื่อเป็นที่เคารพบูชาของ
ประชาชนให้เกิดเลื่อมใสศรัทธายึดหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการ
ดำเนินชีวิต
สร้างความสามัคคีกลมเกลียวกันในแผ่นดิน
การปกครองที่อาศัยพระพุทธศาสนานี้เรียกว่าการปกครองแบบธรรมราชา
พระมหากษัตริย์จะทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม
การปกครองแบบธรรมราชานี้ถูกนำมาใช้จนประทั่งสิ้นสุดสมัยสุโขทัย
การปกครองแบบกระจายอำนาจ
เนื่องจากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงอาณาจักรสุโขทัยมีอาณาเขตกว้างขวางมากที่สุด
จึงจำเป็นต้องมีการปกครองแบบกระจายอำนาจโดยแบ่งหัวเมืองออกเป็น ชั้น
ๆเพื่อกระจายอำนาจในการปกครองออกไปให้ทั่วถึง
เมืองต่าง ๆในสมัยสุโขทัยแบ่งออกเป็น 4 ชั้น
แต่ละชั้นพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจในการปกครองดังนี้
1.
เมืองหลวง หรือเมืองราชธานี อาณาจักรสุโขทัยมีเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี
เมืองหลวงหรือเมืองราชธานีมีพระมหากษัตริย์ปกครองเอง เมืองราชธานี
เป็นศูนย์กลางทางการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนาวัฒนธรรมประเพณ๊
2
เมืองลูกหลวง
หรือเมืองหน้าด่าน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหัวเมืองชั้นใน
ตั้งอยู่รายรอบราชธานีทั้ง 4 ทิศ ห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้า 2 วัน
เมืองลูกหลวงมีดังนี้
ทิศเหนือ ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย
ทิศตะวันออก ได้แก่ เมืองสองแคว ( พิษณุโลก
)
ทิศใต้ ได้แก่ เมืองสระหลวง (
เมืองพิจิตรเก่า )
ทิศตะวันตก ได้แก่ เมืองนครชุม ( กำแพงเพชร
)
เมืองลูกหลวงมีความสำคัญรองมาจากเมืองหลวง
ผู้ที่ถูกส่งไปปกครองคือเจ้านายเชื้อพระวงษ์
3.
เมืองพระยามหานคร
เป็นหัวเมืองชั้นนอก ห่างจากเมืองราชธานีออกไปมากกว่าเมืองลูกหลวง
พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งขุนนางชั้นผู้ใหญ่หรือผู้ที่เหมาะสมและมีความ
สามารถไปปกครองดูแลเมืองเหล่านี้โดยขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์
มีวิธีการปกครองเช่นเดียวกับหัวเมืองชั้นใน
เมืองพระยามหานครในสมัยสุโขทัย เช่น
เ มืองพระบาง (นครสวรรค์ ) เมืองเชียงทอง ( อยู่ในเขตจังหวัดตาก
)เมืองบางพาน (
อยู่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร ) เป็นต้น
4.
เมืองประเทศราช
ได้แก่เมืองที่อยู่นอกอาณาจักร
ชาวเมืองเป็นชาวต่างชาติต่างภาษาพระมหากษัตริย์ทรงดำเนินนโยบายในการปกครองคือให้เจ้านายพื้นเมืองเดิมเป็นเจ้าเมืองปกครองกันอง
โดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการปกครองภายใน ยกเว้นกรณีที่จำเป็นเท่านั้น
ยามปกติเมืองประเทศราชต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์สุโขทัยทุก 3
ปี ยามสงครามต้องส่งกองทัพและเสบียงอาหารมาช่วย
สมัยพ่อขุนรามคำแหงมีเมืองประเทศราชหลายเมืองดังต่อไปนี้คือ
ทิศเหนือ ได้แก่ เมืองแพร่ เมืองน่าน
ทิศตะวันตก ได้แก่ เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ
เมืองหงสาวดี
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เมืองเซ่า ( หลวงพระบาง
) เมืองเวียงจันทน์
ทิศใต้ ได้แก่ เมืองนครศรีธรรมราช
เมืองมะละกา เมืองยะโฮร์
อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในสมัย พ่อขุนรามคำแหง เนื่องจากทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่กล้าหาญ สามรถรบชนะ พ่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ตั้งแต่มีพระชนม์เพียง๑๙ พรรษาเท่านั้น และในรัชสมัยของพระองค์ได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางมากกว่าสมัยใดๆ พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ดังนี้
๑. ในรัชสมัยของพระองค์ อาณาจักรสุโขทัยผูกไมตรีเป็นมิตรกับแว่นแคว้นอื่นๆ คือทรงเป็นพระสหายกับ พ่อขุนเม็งราย แห่งอาณาจักรล้านนา และ พ่อขุนผาเมือง แห่งเมืองพระเยา
๒. พระองค์ทรงประดิษฐ์ทรงจัดส่งเครื่องบรรณาการไปประเทศจีน ทำให้มีการติดต่อค้าขายกันได้สะดวก
๓ พระองค์ทรงประดิษฐ์อักษรไทย หรือที่เรียกว่า ลายสือไทย เมื่อ พ.ศ.๑๘๒๖ ทำให้คนไทยมีอักษรประจำชาติ
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจหลายด้านที่เป็นประโยชน์ และมีความสำคัญต่อชาติไทยเราจนทุกวันนี้
๒. พระองค์ทรงประดิษฐ์ทรงจัดส่งเครื่องบรรณาการไปประเทศจีน ทำให้มีการติดต่อค้าขายกันได้สะดวก
๓ พระองค์ทรงประดิษฐ์อักษรไทย หรือที่เรียกว่า ลายสือไทย เมื่อ พ.ศ.๑๘๒๖ ทำให้คนไทยมีอักษรประจำชาติ
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจหลายด้านที่เป็นประโยชน์ และมีความสำคัญต่อชาติไทยเราจนทุกวันนี้

พุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย
สุโขทัย เป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง เช่น พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงอบรมศีลธรรมแก่ประชาชนทุกวันที่ไม่ใช่วันพระ โดยประทับบนพระแท่นมนังศิลาบาตร ถ้าเป็นวันพระจะทรงนิมนต์พระสงฆ์มาเทศนาสั่งสอนราษฎร


สุโขทัย เป็นสังคมเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ทำมาหากินด้านการเกษตร เช่นทำนา ทำไร่ ทำสวน สุโขทัยยังมีการจัดทำระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ทางการเกษตร โดยได้ขุดสระกักเก็บน้ำไว้ใช้และทำท่อดินเผาชักน้ำเข้ามาใช้ในตัวเมือง

ทำนบพระร่วงหรือสรีดภงค์ ระบบชลประทานในสมัยสุโขทัย
นอก
จากเกษตรกรรมแล้ว อาชีพสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการค้าขาย
โดยมีทั้งการค้าในเมืองสุโขทัยเอง การค้ากับเมืองที่อยู่ใกล้เคียง เช่นมอญ
และการค้ากับดินแดนห่างไกล เช่น จีน สินค้าที่ค้าขายมีหลายอย่าง เช่น
ของป่า สัตว์ป่าต่าง ๆ
และทางการยังสนับสนุนให้มีการค้าขายโดยไม่เก็บภาษีผ่านด่านแก่พ่อค้าที่จะ
เข้ามาค้าขายที่สุโขทัย ดังมีจารึกอยู่ในศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๑
หรือศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ว่า "เมื่อชั่ว
พ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่
เอาจกอบ ในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจังใคร่ค้าม้าค้า
ใคร่จักค้าม้าค้า ..."สุโขทัยมีการผลิตถ้วยชาม สังคโลก เพื่อใช้ภายในดินแดน และส่งไปขายยังเพื่อนบ้านใกล้เคียง มีเตาเผาสังคโลกมากมายในบริเวณเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย

เตาทุเรียง บ้านเกาะน้อย ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

ประเพณีลอยกระทง สุโขทัย
ลักษณะการปกครองในสมัยสุโขทัย
การปกครองในสมัยสุโขทัยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ
1.
สมัยสุโขทัยตอนต้น เริ่มตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ไปถึงสิ้นสมัยของพ่อขุนรามคำแหง
2.
สมัยสุโขทัยตอนปลายตั้งแต่สมัยพระยาเลอไทยไปถึงสมัยสุโขทัยหมดอำนาจ
การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น ( พ.ศ. 1792 -1841 )
หลังจากที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมาแล้วได้
พยายามขจัดอิทธิพลของขอมให้หมดไปจึงได้จัดระบบการปกครองใหม่เป็นการปกครอง
แบบไทย
ๆที่ถือว่าประชาชนทุกคนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน
โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว คือ
พระมหากษัตริย์ได้ปกครองประชาชนในฐานะบิดาปกครองบุตร
หรือที่เรียกว่าการปกครองแบบปิตุราชาธิปไตย
ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้คือ
1.
รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตย คือพระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นผู้ปกครองสูงสุด
ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย
2.
พระมหากษัตริย์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนเปรียบเสมือนบิดากับบุคร
ทำตัวเปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัว
พระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยตอนต้นจึงมีพระนามนำหน้าว่า พ่อขุน
3.
ลักษณะการปกครองระบบครอบครัวลดหลั่นกันเป็นชั้น ๆ
นอกจากพระมหากษัตริย์ทำตัวเปรียบเสมือนบิดาของราษฎรแล้ว ยังมีการจัดระบบการปกครอง
ดังนี้
-
ให้ครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมตัวกันเป็น บ้าน อยู่ในความดูแลของ
พ่อบ้าน
ผู้อยู่ภายใต้การปกครองเรียกว่า ลูกบ้าน
-
หลายบ้านรวมกัน เป็น เมือง ผู้ปกครองเรียกว่า ขุน
-
เมืองหลายเมืองรวมกันเป็น อาณาจักร อยู่ในการปกครองของ พ่อขุน
แสดงให้เห็นว่านอกจากพ่อขุนผู้เป็นประมุขสูงสุดแล้ว
ยังมีผู้ปกครองที่ได้รับมอบหมายจากพ่อขุน
ทำหน้าที่เป็นกลไกในการปกครองด้วย
4.
พระมหากษัตริย์ทรงยึดหลักธรรมทางศาสนาในการบริหารบ้านเมือง
และทรงชักชวนให้ประชาชนปฏิบัติธรรม
เพื่อที่จะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
นอกจากนี้ในสมัยสุโขทัยตอนต้นยังมีการปกครองแบบทหารแอบแฝงอยู่ด้วยเนื่องจากในระยะแรกตั้งสุโขทัยมี
อาณาเขตแคบ ๆ
ประชาชนยังมีน้อยดังนั้นทุดคนจึงต้องมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศเท่าๆกันจึงกำหนดว่า
วลาบ้านเมืองปกติประชาชนต่างทำมาหากินแต่เวลาเกิดศึกสงคราม
ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเป็นทหาร โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นจอมทัพ
การปกครองในสมัยสุโขทัยตอนปลาย (พ.ศ. 1841-1981 )
หลังจากที่พ่อชันรามคำแหงสวรรคตในพ.ศ.
1841แล้วอาณาจักรสุโขทัยเริ่มระส่ำระสายพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อมาเริ่มอ่อนแอ
ไม่สามารถรักษาความมั่นคลของอาณาจักรไว้ได้ เมืองหลายเมืองแยกตัวออกไปเป็นอิสระ
สภาพการเมืองภายในเกิดปัญหาการสืบราชสมบัติ
รูปแบบการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมสลายลง
เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคงเพียงพอ จนกระทั่งสมัยพระยาลิไทย
ซึ่งขณะนั้นปกครองอยู่ที่เมือง
ศรีสัชนาลัยได้ยกกำลังเข้ายึดเมืองสุโขทัยและปราบศัตรูจนราบคาบบ้านเมืองจึงสงบลง
เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 1 ( ลิไทย ) ขึ้นครองราชย์สมบัติในปี 1890
ทรงตระหนักถึงความไม่มั่นคงภายใน
ประกอบกับเวลานั้นกรุงศรีอยุธยาที่ตั้งขึ้นมาใหม่กำลังแผ่ขยายอำนาจจนน่ากลัวจะเกิดอันตรายกับสุโขทัย
พระมหาธรรมราชาที่ 1 ( ลิไทย )
ทรงเห็นว่าการแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยการใช้อำนาจทางทหารอย่างเดียวนั้นไม่
สามารถทำได้
เพราะอำนาจทางการทหารในสมัยของพระองค์นั้นไม่เข้มแข็งพอ
จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย
โดยทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา ทรงเป็นผู้ปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่าง
และได้ทรงสร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาไว้ทั่วไปเพื่อเป็นที่เคารพบูชาของ
ประชาชนให้เกิดเลื่อมใสศรัทธายึดหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการ
ดำเนินชีวิต
สร้างความสามัคคีกลมเกลียวกันในแผ่นดิน
การปกครองที่อาศัยพระพุทธศาสนานี้เรียกว่าการปกครองแบบธรรมราชา
พระมหากษัตริย์จะทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม
การปกครองแบบธรรมราชานี้ถูกนำมาใช้จนประทั่งสิ้นสุดสมัยสุโขทัย
การปกครองแบบกระจายอำนาจ
เนื่องจากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงอาณาจักรสุโขทัยมีอาณาเขตกว้างขวางมากที่สุด
จึงจำเป็นต้องมีการปกครองแบบกระจายอำนาจโดยแบ่งหัวเมืองออกเป็น ชั้น
ๆเพื่อกระจายอำนาจในการปกครองออกไปให้ทั่วถึง
เมืองต่าง ๆในสมัยสุโขทัยแบ่งออกเป็น 4 ชั้น
แต่ละชั้นพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจในการปกครองดังนี้
1.
เมืองหลวง หรือเมืองราชธานี อาณาจักรสุโขทัยมีเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี
เมืองหลวงหรือเมืองราชธานีมีพระมหากษัตริย์ปกครองเอง เมืองราชธานี
เป็นศูนย์กลางทางการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนาวัฒนธรรมประเพณ๊
2
เมืองลูกหลวง
หรือเมืองหน้าด่าน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหัวเมืองชั้นใน
ตั้งอยู่รายรอบราชธานีทั้ง 4 ทิศ ห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้า 2 วัน
เมืองลูกหลวงมีดังนี้
ทิศเหนือ ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย
ทิศตะวันออก ได้แก่ เมืองสองแคว ( พิษณุโลก
)
ทิศใต้ ได้แก่ เมืองสระหลวง (
เมืองพิจิตรเก่า )
ทิศตะวันตก ได้แก่ เมืองนครชุม ( กำแพงเพชร
)
เมืองลูกหลวงมีความสำคัญรองมาจากเมืองหลวง
ผู้ที่ถูกส่งไปปกครองคือเจ้านายเชื้อพระวงษ์
3.
เมืองพระยามหานคร
เป็นหัวเมืองชั้นนอก ห่างจากเมืองราชธานีออกไปมากกว่าเมืองลูกหลวง
พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งขุนนางชั้นผู้ใหญ่หรือผู้ที่เหมาะสมและมีความ
สามารถไปปกครองดูแลเมืองเหล่านี้โดยขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์
มีวิธีการปกครองเช่นเดียวกับหัวเมืองชั้นใน
เมืองพระยามหานครในสมัยสุโขทัย เช่น
เ มืองพระบาง (นครสวรรค์ ) เมืองเชียงทอง ( อยู่ในเขตจังหวัดตาก
)เมืองบางพาน (
อยู่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร ) เป็นต้น
4.
เมืองประเทศราช
ได้แก่เมืองที่อยู่นอกอาณาจักร
ชาวเมืองเป็นชาวต่างชาติต่างภาษาพระมหากษัตริย์ทรงดำเนินนโยบายในการปกครองคือให้เจ้านายพื้นเมืองเดิมเป็นเจ้าเมืองปกครองกันอง
โดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการปกครองภายใน ยกเว้นกรณีที่จำเป็นเท่านั้น
ยามปกติเมืองประเทศราชต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์สุโขทัยทุก 3
ปี ยามสงครามต้องส่งกองทัพและเสบียงอาหารมาช่วย
สมัยพ่อขุนรามคำแหงมีเมืองประเทศราชหลายเมืองดังต่อไปนี้คือ
ทิศเหนือ ได้แก่ เมืองแพร่ เมืองน่าน
ทิศตะวันตก ได้แก่ เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ
เมืองหงสาวดี
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เมืองเซ่า ( หลวงพระบาง
) เมืองเวียงจันทน์
ทิศใต้ ได้แก่ เมืองนครศรีธรรมราช
เมืองมะละกา เมืองยะโฮร์
การปกครองสมัยอยุธยา
สมัยอยุธยา พ.ศ.1893-2310
บริเวณ
ลุ่มน้ำเจ้าพระยาในภาคกลางของประเทศไทย
ปรากฏผู้คนตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนเป็นเมือง เป็นแคว้น และอาณาจักร
มีความมั่นคงเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและการค้าจน
สามารถสร้างสรรค์ศิลปกรรมอันงดงาม
สมเด็จ
พระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาในพ.ศ.1893
ความเหมาะสมคือ ทำเลที่ตั้งเมืองแม่น้ำล้อมรอบ 3 ด้าน ได้แก่
แม่น้ำลพบุรีด้านเหนือ แม่น้ำเจ้าพรยาทางด้านตะวันตกและใต้
ส่วนด้านตะวันออก ได้ขุดลำคูเชื่อมกับแม่น้ำ
อยุธยาจึงกลายเป็นเกาะที่มีลำน้ำล้อมรอบครบทั้ง4 ด้าน นับเป็นชัยภูมิที่มั่งคงสามารถป้องกันข้าสึกได้เป็นอย่างดี กรุง
ศรีอยุธยาตั้งอยู่บริเวณที่ราบภาคกลาง ซึ่งลำน้ำสายต่างๆ
จากภาคเหนือไหลผ่านไปลงทะเลอ่าวไทย จึงสามารถควบคุมเส้นทางคมนาคม การค้า
ทางยุทธศาสตร์ จึงทำให้อยุธยาเป็นศูนย์กลางที่อาณาจักรไทย ยาวนานถึง 417 ปี
สถาบันพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา
อาณาจักร
อยุธยาปกครองด้วยระบอบราชธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ตลอดสมัยของอาณาจักรสุโขทัยมีกษัตริย์ปกครองรวม 33
พระองค์ลักษณะการใช้อำนาจของพระมหากษัตริย์คือต้องการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่
สถานบันพระมหากษัตริย์ จึงได้นำลัทธิสมมติเทพ
ซึ่งเป็นหลักศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
มาเสริมสร้างสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความศักดิ์สิทธิและมั่งคง
และมีพระราชอำนาจส่งขึ้น
ใน
ระยะแรกก่อตั้งอาณาจักร
สถาบันพระมหากษัตริย์ของอยุธยาผูกพันกับคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาตามแบบ
ที่เคยเป็นมา โดยเรียกผู้ปกครองว่ามหาสมมติราช
หมายถึงผู้ได้รับมอบหมายจากคนทั้งปวงให้เป็นผู้ปกครองสังคม
นอกจากนี้ยังเป็น พระจักรพรรดิราช
หรือพระราชาผู้ยิ่งใหญ่เปรียบเสมือนเทพเจ้า เป็นองค์สมมติเทพ
จึงต้องมีระเบียบประเพณีและพิธีการ ต่างๆ
โดยมีพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธีถวาย คำสั่งพระมหากษัตริย์เรียกว่าโองการ
มีภาษาที่ใช้กับพระมหากษัตริย์เรียกว่า ราชาศัพท์
ที่อยู่ของพระมหากษัตริย์เรียกว่าพระราชวัง ผู้ใดที่ละเมิดจะถูกลงโทษ
การปกครองและการบริหารของสมัยอยุธยาจะแบ่งออกเป็นสามระยะคือ สมัยอยุธยาตอนต้น สมัยอยุธยากลาง และสมัยอยุธยาตอนปลาย
การเมืองการปกครองในสมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ.1893-1991)
การปกครองส่วนกลาง
พระมหากษัตริย์ ปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง คือจตุสดมภ์
จตุสดมภ์ แบ่งเป็น
กรมเวียง - มี ขุนเวียง เป็นผู้ดูแล มีหน้าที่ รักษาความสงบสุขของราษฏร
กรมวัง - มี ขุนวัง เป็นผู้ดูแล เป็นหัวหน้าฝ่าย ราชสำนักการพิจารณาพิพากษาคดี
กรมคลัง - มี ขุนคลัง เป็นผู้ดูแล มีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินที่ได้จากการเก็บส่วยอากร
กรมนา - มี ขุนนา เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลการทำไร่ นา และสะสมเสบียงอาหารของ พระนคร
การปกครองหัวเมือง
อยุธยาเป็นเมืองหลวง เป็นจุดของศูนย์รวมอำนาจการปกครอง ล้อมรอบด้วยเมืองลูกหลวง ประกอบด้วย ทิศเหนือ เมืองลพบุรี ทิศตะวันออก เมือง นครนายก ทิศใต้ เมือง นครเขื่อนขันธ์ และทิศตะวันตก เมือง สุพรรณบุรี
ถัดออกมาคือ หัวเมืองชั้นใน ได้แก่ สิงห์บุรี ปราจีนบุรี ชลบุรี และเพชรบุรี และเมืองประเทศราช เช่น เมือง นครศรีธรรมราชและเมืองพิษณุโลก
การเมืองการปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง
1991-2231
การปกครองเริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นต้นมา หลังจากที่ได้ผนวกเอาอาณาจักรสุโขทัยมาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา โดยมีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ
1. จัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
2. แยกกิจการฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหารออกจากกัน
การปกครองส่วนกลาง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดฯให้มีตำแหน่งสมุหกลาโหมรับผิดชอบด้านการทหาร นอกจากนี้ยังได้ทรงตั้งหน่วยงานเพิ่มขึ้นมา อีก 2 กรม คือ
กรมมหาดไทย มีพระยาจักรีศรีองครักษ์เป็นสมุหนายก มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประเทศ
กรมกลาโหม มีพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหม มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศ
นอกจากนี้ใน 4 กรมจตุสดมภ์ที่มีอยู่แล้ว ทรงให้มีการปรับปรุงเสียใหม่ โดยตั้งเสนาบดีขึ้นมาควบคุมและรับผิดชอบในแต่ละกรมคือ
กรมเมือง (เวียง มีพระนครบาลเป็นเสนาบดี
กรมวัง มีพระธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดี
กรมคลัง มีพระโกษาธิบดีเป็นเสนาบดี
กรมนา มีพระเกษตราธิการเป็นเสนาบดี
การปกครองส่วนภูมิภาค
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยกเลิกการปกครองแบบเดิมทั้งหมด แล้วจัดระบบใหม่ดังนี้
1. หัวเมืองชั้นใน ยกเลิกเมืองหน้าด่านแล้วเปลี่ยนเป็นเมืองชั้นใน มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ผู้ปกครองเมืองเหล่านี้เรียกว่า ผู้รั้ง พระมหากษัตริย์จะเป็นผู้แต่งตั้งขุนนางในกรุงศรีอยุธยา ทำหน้าที่ผู้รั้งเมือง ต้องรับคำสั่งจากในราชธานีไปปฏิบัติเท่านั้นไม่มีอำนาจในการปกครองโดยตรง
2.หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) เป็นหัวเมืองที่อยู่ภายนอกราชธานีออกไป จัดเป็นหัวเมืองชั้นตรี โท เอก ตามขนาดและความสำคัญของหัวเมืองนั้น เมืองเหล่านี้มีฐานะเดียวกันกับหัวเมืองชั้นใน คือขึ้นอยู่ในการปกครองจากราชธานีเท่านั้น
3. หัวเมืองประเทศราช ยังให้มีการปกครองเหมือนเดิม มีแบบแผนขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง มีเจ้าเมืองเป็นคนในท้องถิ่นนั้น ส่วนกลางจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในด้านการปกครอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย
การปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งการปกครองเป็นหน่วยย่อย โดยแบ่งเป็น
1. บ้าน หรือหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้าน มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นหัวหน้า จากการเลือกตั้งจากหลายบ้าน
2. ตำบล เกิดจากหลายๆ หมู่บ้านรวมกันมีกำนันเป็นหัวหน้ามีบรรดาศักดิ์เป็น พัน
3. แขวง เกิดจากหลายๆ ตำบลรวมกัน มีหมื่นแขวงเป็นผู้ปกครอง
4. เมือง เกิดจากหลายๆ แขวงรวมกัน มีผู้รั้งหรือพระยามหานครเป็นผู้ปกครอง
ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการปกครองทางด้านการทหาร ได้แก่
1. การจัดทำสารบัญชี (หรือสารบาญชี) เพื่อให้ทราบว่ามีกำลังไพร่พลมากน้อยเพียงใด
2. สร้างตำราพิชัยสงคราม ซึ่งเป็นตำราที่ว่าด้วยการจัดทัพ การเดินทัพ การตั้งค่าย การจู่โจมและการตั้งรับ ส่วนหนึ่งของตำราได้มาจากทหารอาสาชาวโปรตุเกส
3. การทำพิธีทุกหัวเมือง ซักซ้อมความพร้อมเพรียงเพื่อสำรวจจำนวนไพร่พล (คล้ายกับพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพลในปัจจุบัน)
การเมืองการปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย
พ.ศ.1991 - พ.ศ.2310 การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย คือ ตั้งแต่ พ.ศ.1991 ในสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ถึงเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2310 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ครองราชย์ พระองค์ได้ปฏิรูปการปกครองเสียใหม่
สาเหตุของการปรับปรุงการปกครอง สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.1981-2031 ทรงปรับปรุงการปกครองครั้งใหญ่ เนื่องจาก 1. อาณาเขต ของกรุงศรีอยุธยากว้างขวางมากขึ้น เพราะในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ไทยตีนครธมราชธานีของเขมรได้ใน พ.ศ.1974 และได้รวมอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา เมื่อ พ.ศ.1981 ทำให้อาณาเขตของกรุงศรีอยุธยากว้างขวางมากขึ้นเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นครองราชย์ ใน พ.ศ.1991 ทรงเห็นว่าการปกครองแบบเก่ายังไม่รัดกุมเพียงพอ เพราะผู้ครองนครเมืองต่าง ๆ มีอำนาจสิทธิ์ขาดมากเกินไป และเบียดบังรายได้จากภาษีอากร ทำให้ราชธานีได้รับผลประโยชน์ไม่เต็มที่ 2. เมืองลูกหลวง ก่อปัญหาให้อยุธยามาตลอด เนื่องจากเจ้าเมืองเหล่านี้เป็นเจ้านายชั้นสูงได้รวมกำลังกันยกกำลังทหารเข้ามาแย่งชิงราชสมบัติอยู่เสมอ 3. พราหมณ์และขุนนางจากราชสำนักเขมร ได้นำเอาวัฒนธรรมเข้ามาเผยแพร่ เนื่องจากในรัชสมัยก่อน ๆ เบื่อยกทัพไปตีเขมร
เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.1981-2031 ทรงปรับปรุงการปกครองครั้งใหญ่ เนื่องจาก 1. อาณาเขต ของกรุงศรีอยุธยากว้างขวางมากขึ้น เพราะในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ไทยตีนครธมราชธานีของเขมรได้ใน พ.ศ.1974 และได้รวมอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา เมื่อ พ.ศ.1981 ทำให้อาณาเขตของกรุงศรีอยุธยากว้างขวางมากขึ้นเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นครองราชย์ ใน พ.ศ.1991 ทรงเห็นว่าการปกครองแบบเก่ายังไม่รัดกุมเพียงพอ เพราะผู้ครองนครเมืองต่าง ๆ มีอำนาจสิทธิ์ขาดมากเกินไป และเบียดบังรายได้จากภาษีอากร ทำให้ราชธานีได้รับผลประโยชน์ไม่เต็มที่ 2. เมืองลูกหลวง ก่อปัญหาให้อยุธยามาตลอด เนื่องจากเจ้าเมืองเหล่านี้เป็นเจ้านายชั้นสูงได้รวมกำลังกันยกกำลังทหารเข้ามาแย่งชิงราชสมบัติอยู่เสมอ 3. พราหมณ์และขุนนางจากราชสำนักเขมร ได้นำเอาวัฒนธรรมเข้ามาเผยแพร่ เนื่องจากในรัชสมัยก่อน ๆ เบื่อยกทัพไปตีเขมร
การปกครองส่วนกลาง
2. ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกเป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับงานราชการพลเรือนทั่วๆ ไป มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ มีเสนาบดีจตุสดมภ์เป็นเจ้ากระทรวง ตำแหน่งรองลงมาจากสมุหนายก ทำหน้าที่เช่นเดียวกับที่เคยปฏิบัติมา เพียงแต่เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ดังนี้
กรมเมือง เปลี่ยนเป็น นครบาล
กรมวัง เปลี่ยนเป็น ธรรมาธิกรณ์
กรมคลัง เปลี่ยนเป็น โกษาธิบดี
กรมนา เปลี่ยนเป็น เกษตราธิการ
ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยศักดินาขึ้น และใช้มาจนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ศักดินา คือ วิธีให้เกียรติยศบุคคลตั้งแต่ขุนนาง ข้าราชการ ลงไปจนถึงไพร่และทาส โดยกำหนดจำนวนที่นามากน้อยตามศักดิ์หรือเกียรติยศของบุคคล เช่น
ชั้นเจ้าพระยามีศักดินา 10,000 ไร่
คนธรรมดาสามัญมีศักดินา 25 ไร่
ทาสมีศักดินา 5 ไร่
การกำหนดระบบศักดินาขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์ในการกำหนดสิทธิ และหน้าที่ของประชาชน นอกจากนี้ ระบบศักดินายังเกี่ยวพันกับการชำระโทษ และปรับไหมในกรณีกระทำผิดอีกด้วย คนที่ถือศักดินาสูง เมื่อทำผิดจะถูกลงโทษหนักกว่าผู้มีศักดินาต่ำ การปรับในศาลหลวง ค่าปรับนั้นก็เอาศักดินาเป็นบรรทัดฐาน การปกครองหัวเมือง
พระบรมไตรโลกนาถพยายามจัดการปกครองหัวเมืองเสียใหม่ เพื่อให้ส่วนกลางสามารถคุมหัวเมืองทั้งหลายได้ แต่ก็ปรากฏว่าไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เพราะการคมนาคมไม่สะดวก คงทำได้สำเร็จเฉพาะหัวเมืองใกล้เคียงหรือหัวเมืองรอบ ๆ เมืองหลวงเท่านั้น หัวเมืองในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ นอกจากเมืองพระยามหานครที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขุนนางไปปกครองแล้ว ยังมีหัวเมืองประเทศราช ที่มีเจ้าเมืองของตนเอง แต่ยอมขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา โดยส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายทุกปี หัวเมืองประเทศราชเหล่านี้ มีทั้งใกล้และไกล เช่น เชียงใหม่ เชียงแสน เชียงรุ้ง ยะโฮร์ มะละกา เป็นต้น ต่อมา ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ปฏิรูปการปกครองหัวเมืองใหม่ โดยยกเลิกเมืองพระยามหานคร และจัดแบ่งเมืองนอกเขตราชธานีออกเป็น 3 ชั้น คือ 1. หัวเมืองชั้นเอก มี เมือง คือ พิษณุโลกและนครศรีธรรมราช 2. หัวเมืองชั้นใน มีหลายเมือง เช่น สวรรคโลก สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบุรี เป็นต้น 3. หัวเมืองชั้นตรี เช่น พิชัย นครสวรรค์ ไชยา พัทลุง เป็นต้น หัวเมืองแต่ละชั้นยังมีเมืองย่อยอยู่โดยรอบ เรียกเมืองเหล่านี้ว่า เมืองจัตวา การจัดการปกครองหัวเมืองแบบนี้มีมาโดยตลอด และได้ยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระบรมไตรโลกนาถพยายามจัดการปกครองหัวเมืองเสียใหม่ เพื่อให้ส่วนกลางสามารถคุมหัวเมืองทั้งหลายได้ แต่ก็ปรากฏว่าไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เพราะการคมนาคมไม่สะดวก คงทำได้สำเร็จเฉพาะหัวเมืองใกล้เคียงหรือหัวเมืองรอบ ๆ เมืองหลวงเท่านั้น หัวเมืองในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ นอกจากเมืองพระยามหานครที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขุนนางไปปกครองแล้ว ยังมีหัวเมืองประเทศราช ที่มีเจ้าเมืองของตนเอง แต่ยอมขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา โดยส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายทุกปี หัวเมืองประเทศราชเหล่านี้ มีทั้งใกล้และไกล เช่น เชียงใหม่ เชียงแสน เชียงรุ้ง ยะโฮร์ มะละกา เป็นต้น ต่อมา ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ปฏิรูปการปกครองหัวเมืองใหม่ โดยยกเลิกเมืองพระยามหานคร และจัดแบ่งเมืองนอกเขตราชธานีออกเป็น 3 ชั้น คือ 1. หัวเมืองชั้นเอก มี เมือง คือ พิษณุโลกและนครศรีธรรมราช 2. หัวเมืองชั้นใน มีหลายเมือง เช่น สวรรคโลก สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบุรี เป็นต้น 3. หัวเมืองชั้นตรี เช่น พิชัย นครสวรรค์ ไชยา พัทลุง เป็นต้น หัวเมืองแต่ละชั้นยังมีเมืองย่อยอยู่โดยรอบ เรียกเมืองเหล่านี้ว่า เมืองจัตวา การจัดการปกครองหัวเมืองแบบนี้มีมาโดยตลอด และได้ยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยพระเพทราชา ทรงสลับสับเปลี่ยนหน้าที่อัครมหาเสนาบดี ดังนี้
1. สมุหนายก - ควบคุมหัวเมืองด้านเหนือ
2. สมุหกลาโหม - ควบคุมหัวเมืองด้านใต้
3. พระยาโกษาธิบดี เสนาบดีกรมท่า - ควบคุมหัวเมืองด้านตะวันออกการปกคองสมัยรัตนโกสินทร์
รูปแบบการปกครองของไทยแต่สมัยเดิมมามีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนักโดยเฉพาะในสมัยกรุงศรีอยุธยาตลอดระยะเวลาเกือบ 500 ปี มิได้การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการปกครองขนานใหญ่แต่อย่างใดจนถึงรัชสมัย
พระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์อันเป็นระยะที่ประเทศไทย ได้มีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
วัฒนธรรมและอารยธรรมต่างๆได้หลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศไทยประกอบกับอิทธิพลในการแสวงหา เมืองขึ้นของ
ชาติตะวันตกที่สำคัญ 2 ชาติ คืออังกฤษและฝรั่งเศสกำลังคุกคามเข้ามาใกล้ประเทศไทยประการสำคัญที่สุดก็คือ
พระอัจฉริยะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงคาดการณ์สำคัญในอนาคตอย่างถูกต้อง จึงได้
ดำเนินรัฐประศาสนโยบายนำประเทศไทยให้พ้นวิกฤตการณ์ จากการคุกคามทางการเมืองมาได้นำประเทศไทยสู่
ความก้าวหน้ายุคใหม่อันเป็นสำคัญที่เป็น รากฐานในการปกครองปัจจุบัน
การปฏิรูปการบริหาร (Administrativereform) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี
พ.ศ. 2435 นี้นับว่าเป็นการปฏิรูปการปกครองการบริหารที่สำคัญของชาติไทยและนำความเจริญรุ่งเรืองนานัป
มาสู่ประเทศชาติและปวงชาวไทย ดังจะกล่าวถึงมูลเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปการ การปกครองดังกล่าว
ต่อไป
สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในสมัยแรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ยังคงอยู่
ในรูปแบบของเศรษฐกิจพอยังชีพ กล่าวคือยังไม่มีการแบ่งงานกันทำแต่ละครอบครัวต้อง
ผลิตของที่จำเป็นทุกอย่างขึ้นมาใช้เอง ที่ดินก็ยังว่างเปล่าอยู่มาก ในขณะที่แรงงานเพื่อ
ประกอบการผลิตยังมีอยู่น้อย เพราะสภาพสังคมขณะนั้นแรงงานคนส่วนใหญ่ต้องอุทิศให้
กับ การเข้าเวรรับราชการและรับใช้มูลนายเวลาที่เหลือเพียงส่วนน้อยจึงเป็นเรื่องของการ
ทำมาหาเลี้ยงชีพและครอบครัว ผลผลิตที่ได้ส่วนหนึ่งจึงเป็นไปตามความต้องการของครัว
เรือนและอีกส่วนหนึ่งส่งเป็นส่วยให้กับทางราชการ การค้าภายในประเทศจึงมีน้อยเพราะ
ว่าทรัพยากรมีจำกัด และความต้องการของแต่ละท้องถิ่นไม่แตกต่างกันการคมนาคมไม่
สะดวกจวบจนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 การค้าภายในประเทศจึงเริ่มขยายตัวเพราะชาวจีนเข้า
มามีบทบาททางการค้าโดยทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลาง นำส่งสินค้าเข้า-ออก ตามท้อง
ถิ่นต่าง ๆ
ในส่วนที่เป็นรายรับ - รายจ่ายของแผ่นดินนั้น กล่าวได้ว่ารายรับไม่สมดุลกับ
รายจ่าย รายจ่ายส่วนใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นไปเพื่อการสร้างและบูรณะ
บ้านเมือง รายจ่ายในการป้องกันประเทศการบำรุงศาสนานอกจากนี้ก็ยังมีรายจ่ายเบี้ย
หวัดข้าราชการและค่าใช้จ่ายภายในราชสำนักรายจ่ายตามประเภทที่กล่าวมาข้างต้นนั้น
นับว่ามีจำนวนสูง เพราะบ้านเมืองเพิ่งอยู่ในระยะก่อร่างสร้างตัวซ้ำยังมีศึกสงครามอยู่
เกือบตลอดเวลารายจ่ายที่เพิ่มมากขึ้นนั้นเมื่อเทียบกับรายได้ของแผ่นดินซึ่งยังคงมีที่มา
เหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี จึงเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองต้องแสวงหายรายได้ให้
เพิ่มมากขึ้น
รายได้ของรัฐบาลในสมัยต้นรัตนโกสินทร์จำแนกได้ดังนี้
1. ส่วย คือ เงินหรือสิ่งของที่ไพร่เอามาเสียภาษีแทนแรงงานถ้า ไม่ต้องการชำระ
เป็นเงิน ก็อาจจะทดแทนด้วยผลิตผลที่มีอยู่ในท้องที่ ๆ ไพร่ผู้นั้นอาศัยอยู่เช่นดีบุกดิน
ประสิว นอกจากนี้ส่วยยังเรียกเก็บจากหัวเมืองต่าง ๆ และบรรดาประเทศราช
2. ฤชา คือ การเสียค่าธรรมเนียมที่ประชาชนจ่ายเป็นค่าตอบแทนการบริการ
ของรัฐบาล รัฐบาลจะกำหนดเรียกเก็บเป็นอย่าง ๆ ไป เช่น ค่าธรรมเนียมโรงศาล
ค่าธรรมเนียมการออกโฉนด หรือค่าธรรมเนียมกรรมสิทธิ์ เป็นต้น
3. อากร คือ เงินที่พ่อค้าเสียให้แก่รัฐบาลในการขอผูกขาดสัมปทาน เช่น การจับ
ปลา การเก็บของป่าต้มกลั่นสุรา และตั้งบ่อนการพนัน เป็นต้น ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือ
การเรียกเก็บผลประโยชน์ที่ราษฎรทำได้จากการประกอบการต่างๆเช่น ทำนาทำไร่ การ
เก็บอากร ค่านา ในสมัยรัชกาลที่ 2 กำหนดให้ราษฎรเลือกส่งได้ 2 รูปแบบ คือ ส่งเป็น
ผลิตผลหรือตัวเงิน เช่น ถ้าส่งเป็นเงินให้ส่งไร่ละหนึ่งสลึง อากรประเภทอื่นยังมีอีก เช่น
อากรสวน อากรตลาด เป็นต้น
4. ภาษีอากรและจังกอบภาษีอากรหมายถึงการเก็บภาษีจากสินค้าเข้าและสินค้า
ออก ภาษีเข้ามีอัตราการเก็บที่ไม่แน่นอนประเทศใดที่มีสัมพันธไมตรีดีต่อไทยก็จะเก็บ
ภาษีน้อยกว่าเรือของประเทศที่ไปมาค้าขายเป็นครั้งคราวหาก แต่ในสมัยรัชกาลที่ 2
อัตราที่กำหนดให้เก็บคือร้อยละ8โดยตลอดส่วนชาวจีนนั้นให้คิดอัตราร้อยละ 4 ส่วน
ภาษีสินค้าออกเก็บในอัตราที่แตกต่างไปตามชนิดของสินค้า
จังกอบ คือค่าผ่านด่านซึ่งเรียกเก็บจากสินค้าและขนาดของพาหนะที่บรรทุก
ด่านที่เก็บจังกอบเรียกว่าขนอนหรือด่านภาษีการเก็บจังกอบมี 2 ประเภทคือประเภท
แรกเป็นการเก็บค่าผ่านด่านขนอนทั้งทางบกและทางน้ำ เรียกเก็บจากสินค้าค้าของ
ราษฏรโดยชักสินค้านั้นเป็นส่วนลดอีกประเภทหนึ่งคือ เก็บตามอัตราขนาดของยาน
พาหนะที่ขนสินค้าผ่านด่าน โดยจะวัดตามความกว้างของปากเรือ เรียกว่า"ค่าปากเรือ"
ในสมัยรัตนโกสินทร์นี้แม้เศรษฐกิจหลักของสังคมจะเป็นไปแบบเดิมคือ การ
เกษตรกรรม โดยอาศัยธรรมชาติ แต่ทางราชการก็พยายามสนับสนุนช่วยเหลือใน
การชลประทานการค้ากับต่างประเทศก็ดำเนินเป็นล่ำเป็นสันขึ้นกว่าในสมัยก่อน
เพราะไทยมีสินค้าออกคือ ผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งเป็นที่ต้องการของประเทศ
ทางตะวันตก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)