วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ASEAN)

ไฟล์:ASEAN.gif 
  asean-map1       

asean_declaration
พิธีลงนามในปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) หรือปฏิญญากรุงเทพฯ ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510
การจัดตั้ง
สมาคมประชาชาติแห่ง เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน ได้รับการจัดตั้งขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ณ วังสราญรมย์ ในกระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร โดยมีประเทศสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมา บรูไน ดารุสซาลามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในวันที่ 8 มกราคม 2527 เวียดนามได้เข้าร่วมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2538 ลาวและพม่าเข้าร่วมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 และกัมพูชาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542
ภูมิภาคอาเซียนนั้น ประกอบด้วยประชากรประมาณ 567 ล้านคน มีพื้นที่โดยรวม 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติประมาณ 1,100 พันล้านดอลลาร์ และรายได้โดยรวมจากการค้าประมาณ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ (สถิติในปี 2550)

วัตถุประสงค์
ปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) ได้ระบุว่า เป้าหมายและจุดประสงค์ของอาเซียน คือ 1) เร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและการพัฒนาวัฒนธรรมในภูมิภาค และ 2) ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยการเคารพหลักความยุติธรรมและ  หลักนิติธรรมในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาค ตลอดจนยึดมั่นในหลักการแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ
ในโอกาสครบรอบ 30 ปีของการก่อตั้งอาเซียน ในปี 2540 (ค.ศ.1997) ผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับรอง “วิสัยทัศน์อาเซียน 2020” (ASEAN Vision 2020) โดยเห็นพ้องกันในวิสัยทัศน์ร่วมของอาเซียนที่จะเป็นวงสมานฉันท์ในภูมิภาค ตะวันออกเฉียงใต้ ต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอก การใช้ชีวิตในสภาพที่มีสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรือง ผูกมัดกันเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนา ที่มีพลวัตและในประชาคมที่มีความเอื้ออาทรระหว่างกัน
ปี 2546 ผู้นำอาเซียนได้เห็นพ้องกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียนที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก อันได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community–ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ภายในปี 2563 ต่อมา ในการประชุม สุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู ฟิลิปปินส์ ผู้นำประเทศอาเซียนตกลงที่จะเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้ว เสร็จภายในปี 2558

หลักการพื้นฐานของความร่วมมือ
ประเทศสมาชิกอาเซียน ได้ ยอมรับในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันปรากฏอยู่ในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย
  • การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ประจำชาติของทุกชาติ
  • สิทธิของทุกรัฐในการดำรงอยู่โดยปราศจากจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตยหรือการบีบบังคับจากภายนอก
  • หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
  • ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
  • การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำลัง และ
  • ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิก

โครงสร้างองค์การของอาเซียน
องค์กรสูงสุดของอา เซียนคือ ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนหรือที่ประชุมของประมุขหรือหัวหน้ารัฐบาลของประเทศ สมาชิกอาเซียน (ASEAN Summit) โดยจะมีที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ (ASEAN Ministerial Meeting) และที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers’ Meeting) เป็นองค์กรระดับรอง และอาจมีที่ประชุมระดับรัฐมนตรีด้านอื่นๆ ด้วย  การประชุมระดับผู้นำและรัฐมนตรีถือเป็นองค์กรระดับนโยบายชั้นสูง รองลงมาจะเป็นที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส หรือระดับปลัดกระทรวง (Senior Officials’ Meeting -SOM) ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบายของที่ประชุมระดับผู้นำและระดับรัฐมนตรี ส่วนที่ประชุมคณะกรรมการประจำอาเซียน (ASEAN Standing Committee -ASC) ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมอาเซียนของประเทศสมาชิก จะทำหน้าที่กำหนดแนวทาง และเร่งรัดการดำเนินการตามมติที่ประชุมสุดยอดอาเซียนและที่ประชุมระดับ รัฐมนตรี รวมทั้งให้ความเห็นชอบโครงการความร่วมมือด้านต่างๆ ภายในอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ตลอดจนรับทราบผลการดำเนินงานของสำนักเลขาธิการอาเซียน ทั้งนี้ อาเซียนจะตัดสินใจในเรื่องใดๆ โดยใช้ฉันทามติ
นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สาม (ASEAN Committee in Third Countries) ซึ่งประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนในประเทศคู่เจรจาทั้ง 10 ประเทศ และในประเทศอื่นๆ ที่อาเซียนเห็นสมควรให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สามจะทำ หน้าที่ให้ข้อมูลและวิเคราะห์ท่าทีของประเทศที่คณะกรรมการอาเซียนตั้งอยู่
สำนักเลขาธิการอา เซียนซึ่ง ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานในการดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก มีเลขาธิการอาเซียนเป็นหัวหน้าผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการอาเซียนจะได้รับ การเสนอชื่อและแต่งตั้งโดยประเทศสมาชิก (ตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษของชื่อประเทศสมาชิก) และมีรองเลขาธิการอาเซียน 4 คน โดย 2 คนมาจากประเทศสมาชิกอาเซียนเรียงลำดับตามตัวอักษรชื่อภาษาอังกฤษของประเทศ และอีก 2 คนมาจากการคัดเลือกในระบบเปิด สำนักเลขาธิการอาเซียนจะมีหน่วยงานเฉพาะด้านที่ดำเนินความร่วมมือในด้าน ต่างๆ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
ในขณะที่กรมอาเซียน ของประเทศ สมาชิกจะทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการแห่งชาติของแต่ละประเทศ ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ของประเทศตนในการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือในสาขาต่างๆ นโยบายหลักในการดำเนินงานของอาเซียนเป็นผลมาจากการประชุมหารือในระดับ หัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีเศรษฐกิจ และรัฐมนตรีในสาขาความร่วมมือต่างๆ ของประเทศสมาชิก
อย่างไรก็ดี โครงสร้างของอาเซียน รวมทั้งสำนักเลขาธิการอาเซียนตามที่กล่าวมาข้าวต้นได้ถูกปรับเปลี่ยนตาม กฎบัตรอาเซียนที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2552


ธงและสัญลักษณ์ อาเซียน

1299385398mtm2

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(Association of Southeast Asian Nations)

คำขวัญ
"One Vision, One Identity, One Community"
(หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)

สัญลักษณ์อาเซียน
“รวงข้าว 10 ต้นมัดรวมกันไว้”
หมายถึง ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยสีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียน เป็นสีที่สำคัญของธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน
asean
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง
หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีขาว
หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีเหลือง
หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)  ตั้งอยู่ที่่ กรุงจากาตาร์
เลขาธิการ : ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ (เริ่มดำรงตำเเหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2551)
ปฏิญญากรุงเทพ     8 สิงหาคม พ.ศ. 2510
กฎบัตรอาเซียน     16 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ภาษาราชการ      ภาษาอังกฤษ

ประเทศสมาชิก อาเซียน

ประเทศสมาชิกอาเซียน

บรูไนกัมพูชาอินโดนีเซียลาวมาเลเซีย
ฟิลิปปินส์สิงคโปร์ประเทศไทยเวียดนามสหภาพพม่า

Thailand
ราชอาณาจักรไทย (Thailand)



Indonesia
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
Philippines
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)


Malaysia
มาเลเซีย (Malaysia)

Singapore
สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore)

Brunei
รัฐบรูไนดารุสซาลาม (State of Brunei Darussalam)






Vietnam\
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam)
  

 
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (The Republic of the Union of Myanmar)
Cambodia
ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)

ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน


ดอก Simpor หรือที่เรารู้จักกันในชื่อดอก Dillenia เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศ บรูไน ดารุสซาลาม


ดอก Rumdul ก็คือดอก ลำดวน เป็นดอกไม้ประจำชาติของราชอาณาจักรกัมพูชา


ดอก Moon Orchid (กล้วยไม้ราตรี) เป็นกล้วยไม้ในสายพันธุ์ของ Phalaenopsis เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย


ลีลาวดี หรือลั่นทม เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว



Hibiscus หรือ ชบา เป็นดอกไม้ประจำชาติของ ประเทศมาเลเซีย



Padauk ประดู่ เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สหภาพพม่า


Sampaguita Jasmine ดอกพุดแก้ว เป็นดอกไม้ประจำชาติของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์


บัว เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม


Vanda Miss Joaquim เป็นกล้วยไม้ในกลุ่ม แวนด้า เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐสิงคโปร์



ราชพฤกษ์ หรือ ดอกคูน เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย







 


กฎบัตรอาเซียน
พัฒนาการความร่วมมือ ของอาเซียน ในช่วงแรกๆ หลังการก่อตั้งเน้นความร่วมมือด้านการเมือง ก่อนที่จะขยายไปสู่ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและสังคมในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา และมีการรวมกลุ่มที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น การเปลี่ยนแปลงของบริบททางการเมืองและเศรษฐกิจของโลกและภูมิภาค ความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ทางการเมืองในยุคสงครามเย็นยุติลง รวมทั้งการก้าวเข้าสู่โลกยุคโลกาภิวัตน์ที่มีมหาอำนาจใหม่คือ จีนและอินเดีย และต้องเผชิญกับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ เช่น โรคระบาด การก่อการร้าย การค้ามนุษย์ สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ ทำให้อาเซียนต้องปรับตัว และปรับระบบการทำงาน โดยเน้นประสิทธิภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้นโลกปัจจุบันเป็นโลกของ ความร่วมมือในระดับภูมิภาคจะเห็นได้จากการรวมกลุ่มของประเทศต่างๆในยุโรป ละติน อเมริกา เอเชียใต้ และแอฟริกา เพื่อสร้างโอกาส เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และอำนาจต่อรอง อาเซียนจึงจำเป็นต้องวางรากฐานสำหรับการสร้างประชาคมอาเซียนที่ประกอบด้วย 3 เสาหลักคือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนภายในปี 2558
กฎบัตรอาเซียนเป็น ความตกลงระหว่างประเทศสมาชิกที่กำหนดกรอบโครงสร้างองค์กร เป้าหมาย หลักการ และกลไกที่สำคัญต่างๆ ของอาเซียน และให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อ (1) เพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามเป้าหมายต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวมตัวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558  (2) สร้างกลไกที่จะส่งเสริมให้รัฐสมาชิกปฏิบัติตามความตกลงต่างๆ ของอาเซียน และ (3) ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่ใกล้ชิดและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่าง แท้จริงมากขึ้น
ในการประชุมสุดยอดอา เซียน ครั้งที่ 9 ที่บาหลี ปี 2546 ที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการจัดตั้ง ประชาคมอาเซียนภายในปี 2563 (ค.ศ.2020) ต่อมา ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ที่เวียงจันทน์ สปป.ลาว ปี 2547 ผู้นำได้เห็นชอบต่อแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (Vientiane Action Programme –VAP) ซึ่งกำหนดมาตรการในการขับเคลื่อนการสร้างประชาคมอาเซียน ซึ่งรวมถึงการจัดทำกฎบัตรอาเซียนด้วย ซึ่งผู้นำอาเซียนในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 11 ปีถัดมา ได้เห็นชอบให้จัดทำกฎบัตรอาเซียนและตั้งคณะผู้ทรงคุณวุฒิเรื่องกฎบัตร อาเซียน (Eminent Persons Group on the ASEAN Charter-EPG) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับทิศทางการรวมตัวของอาเซียนและสาระสำคัญที่ควร มีปรากฏในกฎบัตรอาเซียน การร่างกฎบัตรอาเซียนทำกันในปี 2549 โดยให้คณะทำงานระดับสูง และได้เสนอให้ผู้นำอาเซียนลงนามในกฎบัตรอาเซียนระหว่างการประชุมสุดยอด อาเซียน ครั้งที่ 13 ที่สิงคโปร์ ปี 2550
ความสำคัญของกฎบัตรอาเซียนต่อประเทศไทย
  1. ไทยเป็น 1 ใน 5 ของผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียน เป็นสถานที่กำเนิดของอาเซียน และมีบทบาทนำในอาเซียนมาโดยตลอด ไทยเป็นประธานอาเซียนในปี 2551-2552 และระหว่างปี 2551-2555  ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ จะเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน ซึ่งเป็นการตอกย้ำบทบาทนำของไทย ทั้งนี้ การมีกฎบัตรอาเซียนจะช่วยให้อาเซียนมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น จะเป็นการสะท้อนความสำเร็จทั้งของไทยและภูมิภาคนี้โดยรวม
  2. กฎบัตรอาเซียนให้ความสำคัญกับการปฏิบัติ ตาม พันธกรณีต่างๆ ของประเทศสมาชิก ซึ่งจะช่วยสร้างเสริมหลักประกันให้กับไทยว่าจะสามารถได้รับผลประโยชน์ตามที่ ตกลงกันไว้อย่างเต็มที่
    นอกจากนี้ การปรับปรุงการดำเนินงานและโครงสร้างองค์กรของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมาก ขึ้น และการเสริมสร้างความร่วมมือใน 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียนจะเป็นฐานสำคัญที่จะทำให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อ ความต้องการและผลประโยชน์ของรัฐสมาชิก รวมทั้งยกสถานะและอำนาจต่อรอง และภาพลักษณ์ของประเทศสมาชิกในเวทีระหว่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น

    นอกจากนี้ เรื่องใหม่ในอาเซียนที่ไทยผลักดันให้ปรากฏในกฎบัตรฯ ได้แก่ (1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน ทั้งนี้ จะต้องมีการจัดทำ Terms of Reference เพื่อกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรนี้ต่อไป (2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการปฏิบัติตามความตกลงของรัฐ สมาชิก (3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่างๆ ระหว่างประเทศสมาชิก (4) การระบุให้ผู้นำเป็นผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณี ตามกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง (5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ (6) การให้ความสำคัญกับการส่งเสริม  การปรึกษาหารือระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ ร่วม ซึ่งทำให้การตีความหลักการห้ามแทรกแซงกิจการภายในมีความยืดหยุ่นมากขึ้น (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที (8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ (9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียนที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น
    การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทย
    ไทยได้รับหน้าที่ ประธานอาเซียน ต่อจากสิงคโปร์ ภายหลังการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 41 ที่สิงคโปร์ในเดือน ก.ค. 2551 การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทยอยู่ในช่วงเวลาที่สำคัญเนื่องจาก (1) กฎบัตรอาเซียนจะมีผลใช้บังคับ (2) การจัดทำแผนงานสำหรับการจัดตั้งประชาคมการเมืองความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมเพื่อมุ่งไปสู่การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 และ (3) อยู่ในช่วงเวลาเดียวกับที่คนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ดำรง ตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน (วาระ 5 ปี ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2551-31 ธ.ค. 2555)
    โดยที่กฎบัตรอาเซียน กำหนดให้ วาระการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนเป็นไปตามปีปฏิทิน ดังนั้น ไทยจะดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนเป็นเวลา 1 ปี 6 เดือนคือ ตั้งแต่ ก.ค. 2551 – ธ.ค. 2552
    ยุทธศาสตร์การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทย
    กระทรวงการต่างประเทศ ได้หารือ กับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องและได้ร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในวาระที่ ไทยจะดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ดังนี้
  3. สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้ประชาชนได้รับทราบ
  4. ส่งเสริมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทไทยในฐานะประธานอาเซียน
  5. เสริมสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงภายในปี 2558
  6. เสริมสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558
  7. เสริมสร้างประชาคมสังคมและวัฒนธรรมภายในปี 2558
  8. ส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาของอาเซียน
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้กำหนดเป้าหมายสำคัญที่ไทยจะผลักดันในช่วงที่ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนไว้ 3 ประการ ได้แก่
  1. การอนุวัติข้อผูกพันภายใต้กฎบัตรอาเซียน (Realising the commitments under the ASEAN Charter) โดยเฉพาะการยกร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ที่จะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ กลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน และคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา เป็นต้น
  2. การทำให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชน เป็นจุดศูนย์กลาง (Revitalising ASEAN as a people-centred Community) ซึ่งหมายถึงการเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนในหมู่ประชาชนการ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคประชาสังคมในการสร้างประชาคมอาเซียน
  3. การเสริมสร้างการพัฒนาและความมั่นคงของ มนุษย์สำหรับประชาชนทุกคนในภูมิภาค (Reinforcing human development and security for all the peoples of the region) โดยส่งเสริมให้ความร่วมมือของอาเซียนตอบสนองต่อผลประโยชน์ของประชาชนให้มาก ที่สุด โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น ความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน การจัดการภัยพิบัติและการเสริมสร้างเสถียรภาพด้านการเงินในภูมิภาค
นอกจากนี้ ไทยยังจะใช้โอกาสในการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนผลักดันความร่วมมือของ อาเซียนและความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจา ภายใต้กรอบอาเซียน+1 อาเซียน+3 และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit-EAS) ให้ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์และแก้ไขปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรที่ตอบสนองต่อผล ประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริงและสามารถคงความสำคัญของอาเซียนในการดำเนิน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเอาไว้ได้

การวางรากฐานของอาเซียนด้วย สามเสาหลัก

 ในช่วงกว่า 40 ปีที่ผ่านมา อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นบทบาทการสร้างบรรยากาศของสันติภาพและการอยู่ร่วมกันโดยสันติของ ประเทศในภูมิภาค การช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในกัมพูชา การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน เป็นต้น
ปัจจุบันนี้โลก เปลี่ยนแปลงไปมากทั้งในด้าน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม ทำให้อาเซียนต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ มากมาย เช่นโรคระบาด การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ พิบัติภัยธรรมชาติเช่น คลื่นยักษ์สึนามิ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน ความเสี่ยงที่อาเซียนอาจจะไม่สามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด เป็นต้น อาเซียนจึงต้องปรับตัวเพื่อให้รับมือกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นให้ได้
เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2 เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน คือการให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี 2558 โดยจะเป็นประชาคมที่ประกอบด้วย 3 เสาหลักซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน คือ

  1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มุ่ง ให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูป แบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง
  2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มุ่ง ให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน
  3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้อ อาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

ในชั้นนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการตามแผนงานการจัดตั้งประชาคม อาเซียนใน 3 เสาหลักนี้ โดยในแต่ละประชาคมจะมีกลไกที่เรียกว่า “คณะมนตรีประชาคม” ซึ่งเป็นกลไกระดับรัฐมนตรีที่มีหน้าที่กำกับดูแลและขับเคลื่อนดำเนินงานตาม แผนงานดังกล่าวต่อไป

ความร่วมมือที่สำคัญ ของอาเซียน


ความร่วมมือด้านพลังงานในอาเซียน
อาเซียนเริ่มจัดการ ประชุม รัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน (ASEAN Ministers on Energy Meeting – AMEM) ครั้งแรกในปี 2525 โดยเล็งเห็นความสำคัญของการสร้างความมั่นคงทางพลังงานเพื่อรองรับการขยายตัว ทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ โดยการสร้างเครือข่ายด้านพลังงานในระดับภูมิภาคที่อาศัยจุดแข็งและศักยภาพ ของแต่ละประเทศในอาเซียนที่มีแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติตลอดจนพลังงานทดแทน ในรูปแบบต่างๆ ความร่วมมือด้านพลังงานที่สำคัญในอาเซียน ได้แก่
1. โครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน อาเซียนได้ลงนาม Memorandum of Understanding on the ASEAN Power Grid ปี 2550 เพื่อเป็นแนวทางในการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าและการซื้อขายไฟฟ้าใน อาเซียน ปัจจุบันมีโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าที่ก่อสร้างเสร็จและ ดำเนินการแล้ว 3 โครงการ กำลังก่อสร้างอยู่ 3 โครงการ และกำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาอีก 9 โครงการ โดยในส่วนของไทยมีอยู่ 4 โครงการ
2. โครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน อาเซียนได้ลงนาม Memorandum of Understanding on the Trans-ASEAN Gas Pipeline (TAGP) ปี 2545 เพื่อเป็นแนวทางในการก่อสร้างระบบเครือข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติเชื่อมโยงกัน ระหว่างประเทศสมาชิก รวมถึงส่งเสริมการค้าก๊าซธรรมชาติอย่างเสรีผ่านระบบเครือข่ายท่อก๊าซระหว่าง ประเทศสมาชิก ปัจจุบันอาเซียนมีการเชื่อมโยงโครงข่ายท่อก๊าซธรรมชาติในอาเซียน 8 โครงการ รวมระยะทาง 2,300 กม. และมีแผนการที่จะก่อสร้างเพิ่มเติมอีก 7 โครงการในอนาคต โดยแหล่งก๊าซนาทูน่าตะวันออกของอินโดนีเซียจะเป็นแหล่งก๊าซหลักที่จะ สนับสนุนโครงการท่อก๊าซในอาเซียน โดยในส่วนของไทยมีอยู่ 5 โครงการ
3. การจัดทำASEAN Plan of Action for Energy Cooperation (APAEC) อาเซียนมี
แผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านพลังงานมาแล้วรวม 2 ฉบับ คือ APAEC ปี 2542-2547 และปี 2547-2552 มีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมความมั่นคงและความยั่งยืนในการจัดหาพลังงาน มีการใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันไทยเป็นประธานยกร่าง APAEC ปี 2553-2558 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางพลังงานและการพัฒนาที่ ยั่งยืนของอาเซียนสนับสนุนการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558
4. ศูนย์พลังงานอาเซียน (ASEAN Centre of Energy) อาเซียนได้จัดตั้งศูนย์พลังงานอาเซียนในปี 2539 โดยยกฐานะ "ศูนย์ฝึกอบรม เพื่อการจัดการและวิจัยพลังงานอาเซียน-ประชาคมยุโรป (ASEAN-EU Energy Management Training and Research Centre)" ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2531 เป็นศูนย์พลังงานอาเซียน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา และดำเนินโครงการที่เกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์ รวบรวม ข้อมูล จัดฝึกอบรม ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานอาเซียนคนปัจจุบันคือ นาย Nguyen Manh Hung ชาวเวียดนาม
5. ความตกลงด้านพลังงานที่สำคัญ
ความตกลงว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียมของอาเซียน (ASEAN Petroleum Security Agreement: APSA) เป็นความตกลงฉบับปรับปรุงจากความตกลงฉบับเดิม ซึ่งได้ลงนามมาตั้งแต่ปี 2529 APSAเป็นกลไกในการแบ่งปันปิโตรเลียมในภาวะฉุกเฉินสำหรับน้ำมันดิบและหรือ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในเวลาหรือสถานการณ์ทั้งที่มีการขาดแคลนและมีอุปทานมาก เกินไป
ความร่วมมือด้านความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียน
ความเป็นมา
ที่ประชุมรัฐมนตรีอา เซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ (AMAF) ครั้งที่ 30 เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2551 ณ ประเทศเวียดนาม ได้มีมติเห็นชอบแผนนโยบายบูรณาการความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียนและแผน กลยุทธ์ความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียน ค.ศ. 2009-2013 (ASEAN Integrated Food Security (AIFS) Framework and Strategic Plan of Action on Food Security in the ASEAN Region (SPA-FS) 2009 – 2013) ซึ่งที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึง 1 มีนาคม 2552 ก็ได้ให้การรับรองเอกสารนี้เพื่อดำเนินการตามแผนงานต่อไป
สรุปสาระสำคัญของแผน
เป้าหมาย เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านอาหาร และยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกร
วัตถุประสงค์
เพื่อเพิ่มผลผลิตด้านอาหาร ลดการสูญเสียภายหลังการเก็บเกี่ยว ส่งเสริมการเข้าถึงตลาด การค้าสินค้าเกษตรและ
ปัจจัยการผลิต ให้เกิดเสถียรภาพด้านราคา และบรรเทาความขาดแคลนอาหารในกรณีฉุกเฉิน
ขอบเขต
ครอบคลุมเฉพาะ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง น้ำตาล และมันสำปะหลัง
ระยะเวลา
5 ปี (ค.ศ.2009-2013)
องค์ประกอบ กลยุทธ์และแผนงาน
องค์ประกอบ
กลยุทธ
แผนงาน
1. ความมั่นคงอาหารและการบรรเทากรณีฉุกเฉิน/ขาดแคลน 1. สร้างความเข้มแข็งในการจัดการด้านความมั่นคงอาหาร - สร้างความเข้มแข็งด้านความมั่นคงอาหาร - พัฒนากลไกและความริเริ่มการสำรองอาหาร
2. การพัฒนาการค้าอย่างยั่งยืน 2. ส่งเสริมตลาดและการค้าสินค้า - สนับสนุนการค้าอาหารอย่างยั่งยืน
3. บูรณาการระบบข้อมูลสารสนเทศด้านความมั่นคงอาหาร 3. การบูรณาการระบบข้อมูลสารสนเทศ - ส่งเสริมให้โครงการระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อความมั่นคงด้านอาหารอาเซียน (AFSIS) เป็นกลไกในระยะยาว
4. นวัตกรรมด้านการเกษตร 4. ส่งเสริมการผลิตอย่างยั่งยืน
5. กระตุ้นการลงทุนด้านอาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
6. จำแนกและแก้ไขประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงอาหาร

- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร
- การใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ
- งานวิจัยและพัฒนา
- ความร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยี
- การพัฒนาอาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- แก้ไขปัญหาการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ
- แก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

กลไกการดำเนินงานและแหล่งเงินทุน
คณะทำงานรายสาขาภาย ใต้รัฐมนตรี อาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ (AMAF) และเป็นการร่วมลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน คู่เจรจา และองค์กรระหว่างประเทศ
โครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน
วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 (ASEAN Vision 2020) ได้เรียกร้องให้อาเซียนมีความร่วมมือเพื่อที่จะดำเนินการเชื่อมโยงพลังงาน ไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ โดยการพัฒนาโครงข่ายระบบส่งไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Gird) และโครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน (Trans-ASEAN Gas Pipeline) พร้อมกับ ส่งเสริมความร่วมมือด้านประสิทธิภาพพลังงาน การอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งการพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ และพลังงานทดแทน โดยอาเซียนได้มอบหมายให้คณะมนตรีอาเซียนว่าด้วยปิโตรเลียม (ASEAN Council on Petroleum : ASCOPE) เป็นกลไกหลักในการดำเนินโครงการ
ASCOPE ได้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเกี่ยวกับโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ อาเซียน (Task Force on ASEAN Gas Pipeline) และได้จัดทำแผนแม่บทโครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน โดยปรับปรุงจากแผนแม่บทเพื่อการพัฒนา และการใช้ก๊าซธรรมชาติในภูมิภาคอาเซียน ปี 2539
ในการประชุมรัฐมนตรี อาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 20 ณ เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2545 อาเซียนได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจโครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติ อาเซียน Memorandum of Understanding (MoU) on the Trans-ASEAN Gas Pipeline (TAGP) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบการทำงานอย่างกว้าง ๆ สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนในการประสานความร่วมมือเพื่อดำเนินโครงการให้ สัมฤทธิ์ผล และเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของภูมิภาคอาเซียน
ปัจจุบันอาเซียนมีการ เชื่อมโยงท่อส่งก๊าซ ธรรมชาติในระดับทวิภาคีรวม 8 โครงการ ระยะทางรวม 2,319 กม. และมีแผนการที่จะก่อสร้างเพิ่มเติมอีก 7 โครงการในอนาคต โดยแหล่งก๊าซ นาทูน่าตะวันออกของอินโดนีเซียจะเป็นแหล่งก๊าซหลักที่จะสนับสนุนโครงการท่อ ก๊าซในอาเซีย
โครงการ
ระยะทาง (กม.)
หมายเหตุ
1.  โครงการที่สร้างเสร็จแล้ว
Malaysia – Singapore
5
สร้างเสร็จในปี 2534
Yanada, Myanmar - Ratchaburi, Thailand
470
สร้างเสร็จในปี 2542
Yetagun, Myanmar - Ratchaburi, Thailand
340
สร้างเสร็จในปี 2543
W.Natuna, Indonesia – Singapore
660
สร้างเสร็จในปี 2544
W.Natuna, Indonesia – Duyong, Malaysia
100
สร้างเสร็จในปี 2544
S.Sumatera, Indonesia – Singapore
470
สร้างเสร็จในปี 2546
Malaysia – Thailand (JDA)
270
สร้างเสร็จในปี 2548
Malaysia – Singapore
4
สร้างเสร็จในปี 2549
2. โครงการใหม่ที่เสนอในแผนแม่บท
Duri, Indonesia – Melaka, Malaysia
200
W.Natuna, Indonesia – Duyong, Malaysia
100
E.Natuna, Indonesia – Erawan, Thailand
975
E.Natuna, Indonesia – Kerteh, Malaysia
480
E.Natuna, Indonesia – Singapore
720
E.Natuna, Indonesia – Sabah, Malaysia – Palawan – Luzon, Philippines
1540
Malaysia – Thailand (JDA-Block B)
140
Pauh, Malaysia – Arun, Sumatera, Indonesia
365
ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหารอาเซียน
ระบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อความมั่นคงทางด้าน อาหารอาเซียนได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2546 และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากประเทศสมาชิกอาเซียนรวมทั้งประเทศ ญี่ปุ่น จนทำให้เกิดบูรณาการของระบบข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคงอาหารในระดับภูมิภาค
วัตถุประสงค์ของระบบ ข้อมูลสารสนเทศนี้ก่อ ตั้งขึ้นเพื่อทำให้ประเทศสมาชิกสามารถพัฒนาระบบสารสนเทศการเกษตรในภูมิภาค อาเซียนซึ่งการจัดทำระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่าง สะดวกนั้นจำเป็นต้องมีข้อมูลที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่ถูกต้องครบถ้วน ทั้งในระดับประเทศและภูมิภาคและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนและจัดทำ นโยบาย รวมทั้งติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์ด้านความมั่นคงทางด้านอาหารในภูมิภาค อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยป้องกันการเกิดปัญหาการขาดแคลนอาหาร หรือการผลิตเกินความต้องการ อีกทั้งยังเอื้อประโยชน์ต่อการสร้างระบบเตือนภัย เช่นการเกิดโรคระบาด ภาวะตกต่ำของราคาสินค้า เป็นต้น
ประเทศไทยโดยสำนักงาน เศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งได้รับมอบหมายจากอาเซียนให้เป็นผู้จัดการโครงการนี้ได้จัดทำข้อมูลและ เป็นศูนย์กลางข้อมูลการเกษตรของกลุ่มประเทศอาเซียนโดยแต่ละประเทศจะจัดส่ง ข้อมูลมายังฐานข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งจะทำการรวบรวม วิเคราะห์ และเผยแพร่ผ่าน Website “afsis.oae.go.th” โดยข้อมูลประกอบด้วยการผลิต ราคา การนำเข้าและการส่งออกสินค้าเกษตร 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อยโรงงาน นอกจากนี้ยังมีข้อมูลประชากร แรงงาน ข้อมูลด้านการผลิต เช่น เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต ผลผลิตต่อไร่ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจการเกษตร เช่น ราคา บัญชีสมดุล รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับประชากร แรงงาน และ การใช้ที่ดิน เป็นต้น
จากความร่วมมือดัง กล่าวทำให้ประเทศอาเซียน มีข้อมูลที่สำคัญยิ่งของภูมิภาคอาเซียน ที่ยังไม่เคยมีมาก่อนซึ่งจะช่วยเร่งผลักดันให้ประเทศสมาชิกมีความสามารถใน การจัดทำข้อมูลรวมทั้งมีระบบเครือข่ายหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยและทำให้ สามารถมีข้อมูลเตือนภัย(Early Warning Information) และพยากรณ์สินค้าเกษตรในภูมิภาคอาเซียน (Commodity Outlook Report) เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนในการกำหนดนโยบายและการวางแผนทั้งด้านการผลิตและการ ตลาดให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน และคาดว่า จากการดำเนินงานดังกล่าว จะทำให้ประเทศไทยสามารถก้าวไปสู่การเป็นผู้นำและศูนย์กลางด้านข้อมูล การเกษตรของภูมิภาคอาเซียนต่อไป
โครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน
ประเทศสมาชิกอาเซียน มีนโยบายร่วมกันที่จะ พัฒนาและเชื่อมโยงโครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Grid) เพื่อส่งเสริมความมั่นคงของการจ่ายไฟฟ้าของภูมิภาคและส่งเสริมให้มีการซื้อ ขายพลังงานไฟฟ้าระหว่างประเทศ เพื่อลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าโดยรวม ในการดำเนินการตามนโยบายให้เกิดผลเป็นรูปธรรม อาเซียนได้มอบหมายให้ผู้บริหารสูงสุดการไฟฟ้าของกลุ่มประเทศอาเซียน (Head of ASEAN Power Utilities/Authorities : HAPUA) มีหน้าที่รับผิดชอบในการผลักดันให้เกิดโครงข่ายระบบส่งไฟฟ้าอาเซียน
ที่ประชุมรัฐมนตรี ด้านพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 21 ณ เมืองลังกาวี ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2546 ได้ให้ความเห็นชอบแผนแม่บทการเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Interconnection Master Plan Study: AIMS) ที่ HAPUA ได้จัดทำขึ้น เพื่อเป็นเอกสารอ้างอิงเพื่อใช้ในการดำเนินงานให้เกิดโครงการเชื่อมโยงระบบ สายส่งไฟฟ้าต่าง ๆ ในอาเซียน
ที่ประชุมรัฐมนตรีอา เซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 25 ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยเรื่อง โครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน (Memorandum of Understanding on the ASEAN Power Grid) เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2550 เพื่อเป็นกรอบในการกำหนดนโยบายร่วมของภูมิภาคในการผลักดันให้การเชื่อมโยง ระบบสายส่งไฟฟ้าและการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเกิดขึ้นเป็น รูปธรรม
HAPUA ตั้งเป้าว่าจะดำเนินการก่อสร้างโครงการเชื่อมโยงระบบส่งไฟฟ้าอาเซียนทั้ง 15 โครงการให้แล้วเสร็จภายในปี 2558
สถานะการดำเนินโครงการ
โครงการเชื่อมโยงระบบส่งไฟฟ้า
สถานะ
1. Peninsular Malaysia – Singapore
ก่อสร้างเสร็จและดำเนินการส่งกระแสไฟฟ้าแล้วตั้งแต่ปี 2528
2. Thailand – Peninsular Malaysia
ก่อสร้างเสร็จและดำเนินการส่งกระแสไฟฟ้าแล้วตั้งแต่ปี 2544
3. Thailand – Cambodia
ก่อสร้างเสร็จและดำเนินการส่งกระแสไฟฟ้าแล้วตั้งแต่ปี 2550
4. Thailand – Lao PDR
กำลังดำเนินการก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2552/ 2553
5. Vietnam – Cambodia
กำลังดำเนินการก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2553
6. Lao PDR – Cambodia
ลงนามสัญญาก่อสร้างแล้ว
7. Sumatra – Peninsular Malaysia
อยู่ในขั้นตอนการเจรจาหรือศึกษาความเป็นไปได้
8. Batam – Bintan – Singapore
อยู่ในขั้นตอนการเจรจาหรือศึกษาความเป็นไปได้
9. Sarawak – West Kalimantan
อยู่ในขั้นตอนการเจรจาหรือศึกษาความเป็นไปได้
10. Philippines – Sabah
อยู่ในขั้นตอนการเจรจาหรือศึกษาความเป็นไปได้
11. Sarawak – Sabah – Brunei
อยู่ในขั้นตอนการเจรจาหรือศึกษาความเป็นไปได้
12. Sarawak – Peninsular Malaysia
อยู่ในขั้นตอนการเจรจาหรือศึกษาความเป็นไปได้
13. Thailand – Myanmar
อยู่ในขั้นตอนการเจรจาหรือศึกษาความเป็นไปได้
14. Lao PDR – Vietnam
อยู่ในขั้นตอนการเจรจาหรือศึกษาความเป็นไปได้
15. Sabah – East Kalimantan
เป็นโครงการเพิ่มเติม และอยู่ในขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้
โครงการถนนอาเซียน
การประชุมรัฐมนตรี ด้านการขนส่งของอาเซียน (ASEAN Transport Minister Meeting-ATM) ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2540 มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของฝ่ายไทยที่ให้มีการกำหนดโครงข่ายทางหลวงอาเซียน เพื่อรองรับการพัฒนาและเชื่อมโยงโครงข่ายทางหลวงของประเทศสมาชิก ทั้งนี้เพื่อรองรับการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน ขยายโอกาสและลู่ทางการค้า การไปมาหาสู่กันของประชาชนและการท่องเที่ยวโดยมีไทยเป็นศูนย์กลาง การประชุมรัฐมนตรีด้านการขนส่งของอาเซียน ครั้งที่ 3 ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 2-5 กันยายน 2540 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการของโครงการทางหลวงอาเซียน และให้จัดตั้งเป็นคณะผู้เชี่ยวชาญด้านทางหลวงอาเซียนโดยมีขอบข่ายการดำเนิน งาน 4 ประการ ดังนี้
  1. จัดทำโครงข่ายทางหลวงอาเซียน
  2. จัดทำมาตรฐานทางหลวงอาเซียนให้เป็นแบบ เดียวกัน ทั้งนี้ให้รวมถึงป้ายจราจร สัญญาณ ระบบหมายเลขทางหลวง เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับความร่วมมือในการวางแผนและพัฒนาระบบโครงข่ายทางหลวง อาเซียน
  3. กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งระหว่างประเทศ และอำนวยความสะดวกในการขนส่งผ่านแดน รวมทั้ง กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับการขนส่งผ่านแดน
  4. จัดทำแผนพัฒนาทางหลวงอาเซียนเพื่อแสวง หาการสนับสนุนด้าน เงินลงทุนจากองค์กรที่ ให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนา (Official Development Assistance-ODA) หรือภาคเอกชน หรือจากความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน  โครงข่ายทางหลวงอาเซียนที่กำหนดมีเป้าหมายที่จะเชื่อมโยงถนนในพื้นที่ซึ่งมี ศักยภาพสูงของประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าด้วยกัน โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 23 สายทาง ระยะทาง 36,600 กิโลเมตร
ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการทางหลวงอาเซียน กำหนดเป้าหมายเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 ( ปี พ.ศ. 2543) กำหนดโครงข่ายและเส้นทางทางหลวงอาเซียนให้แล้วเสร็จ
ระยะที่ 2 ( ปี พ.ศ. 2547)
ทางหลวงที่กำหนด เป็นเส้นทางขนส่งระหว่างประเทศอาเซียนจะได้รับการปรับปรุง พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องหมายจราจรบนเส้นทางเหล่านั้นให้แล้วเสร็จ มีการก่อสร้างเสริมถนนช่วงที่ขาดตอน และเปิดดำเนินการจุดผ่านแดนทั้งหมด
ระยะที่ 3 ( ปี พ.ศ. 2563)
ทางหลวงที่กำหนด เป็นเส้นทางขนส่งระหว่างประเทศ จะได้รับการปรับปรุงเป็นถนนมาตรฐานชั้น 1 หรือชั้นพิเศษ แต่สำหรับเส้นทางที่มีปริมาณการจราจรต่ำและไม่เป็นโครงข่ายหลัก ยินยอมให้ก่อสร้างเป็นถนนมาตรฐานชั้น 2
โครงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิง
ในการประชุมสุดยอดอา เซียน ครั้งที่ 5 ในปี 2538 ประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนได้ให้ความเห็นชอบโครงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟ สิงคโปร์-คุนหมิง โดยลักษณะโครงการเป็นการเชื่อมโยงและปรับปรุงเส้นทางรถไฟที่มีอยู่แล้วของ ประเทศ 6 ประเทศที่ประกอบด้วย สิงคโปร์-มาเลเซีย-ไทย-กัมพูชา -เวียดนาม-จีน โดยมีการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟหลัก จากสิงคโปร์- กัวลาลัมเปอร์-กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ-ปอยเปต-ศรีโสภณ-พนมเปญ-โฮจิ มินห์-ฮานอย-คุนหมิง ระยะทางรวม 5,382 ก.ม. ท้งนี้เพื่อเซื่อมการคมนาคมระหว่างอาเซียนกันเองและกับจีนทางตอนใต้ด้วย และจะเป็นทางเลือกในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารอีกทางหนึ่งให้แก่ประเทศใน ภูมิภาค
โครงการเชื่อมโยงเส้น ทางรถไฟ สิงคโปร์-คุนหมิง มีเส้นทางรถไฟช่วงที่เรียกว่า missing link ในส่วนของ 6 ประเทศรวมระยะทาง 431 ก.ม. โดยในส่วนของไทยมีเส้นทางรถไฟช่วงที่เรียกว่า missing link ระยะทาง 153 กม. ที่จะเชื่อมโยงกับพม่า (เริ่มจาก สถานีน้ำตก- บ้านแก่งปโลม-หมู่บ้านช้างภู่ทอง-ห้วยอู่ล่อง-บ้านโชคดีสุพรรณ-อำเภอ สังขละบุรี จนถึงด่านเจดีย์สามองค์)
โครงการเชื่อมโยงเส้น ทางรถไฟ สิงคโปร์-คุนหมิง จำเป็นต้องใช้เงินทุนสนับสนุนโครงการมูลค่ากว่า 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีบางประเทศเช่น จีน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น และองค์การระดับภูมิภาคเช่น ADB ให้การสนับสนุนในเรื่องการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ
ความร่วมมืออาเซียนด้าน SMEs
การประชุม ASEAN SME Agencies Working Group เป็นเวทีซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อให้ประเทศสมาขิกอาเซียนได้หารือกันเพื่อจัดทำ แผนการพัฒนา SMEs ในภูมิภาคอาเซียนอย่างเป็นรูปธรรม การประชุม ASEAN SME Agencies Working Group จะจัดให้มีขึ้น 2 ครั้ง ต่อ ปี  โดยการประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ประสบการณ์ระหว่างผู้นำด้านนโยบายส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน อาเซียน  เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านนโยบาย SMEs ภายในภูมิภาคอาเซียนและผลักดันโครงการพัฒนา SMEs ในระดับภูมิภาค
SMEs ซึ่งรวมถึงวิสาหกิจรายย่อย เป็นรากฐานทางเศรษฐกิจในอาเซียนเนื่องจาก SMEsก่อให้เกิดการจ้างงานมากที่สุดในทุกๆสาขา นอกจากนี้ SMEs ยังเป็นช่องทางให้สตรีและเยาวชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ อีกด้วย SMEs ประสบกับความท้าทายทั้งทางด้านการเงินและมิใช่การเงิน รวมถึงปัญหา การเข้าถึงแหล่งเทคโนโลยี และตลาด นอกจากนี้ SMEs ยังขาดความตระหนักในการเป็นผู้ประกอบการและทักษะทางด้านการบริหารจัดการ รวมทั้งการขาดข้อมูล การกำหนดมาตรฐานในด้านการดำเนินการต่างๆ และยังต้องยกระดับการดำเนินธุรกิจของตนให้ทันต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท ขนาดใหญ่ในแง่ต่างๆ อาทิเช่น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การ Outsourcing และการใช้เครือข่ายในการดำเนินธุรกิจ
SMEs ในปัจจุบันมีความจำเป็นที่จะต้องมีความคิดสร้างสรรค์และมีนวัตกรรม เพื่อที่จะสามารถเผชิญหน้ากับความท้าทายในตลาดโลกได้ เนื่องจากในขณะนี้การดำเนินธุรกิจต่างๆมีการแข่งขันสูง เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ตลาดมีความต้องการที่ซับซ้อนมากขึ้น และผู้บริโภคมีความต้องการที่เปลี่ยนไป ดังนั้นการสร้าง Cluster ให้แก่ SMEs การสร้างเครือข่าย inter-firm networks และ การเชื่อมโยง SMEs ในอาเซียนจะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในภูมิภาคได้ ซึ่งภาครัฐในฐานะที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก และภาคเอกชนในฐานะที่เป็นผู้ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจจำเป็นต้องผนึกกำลังกันใน การสร้างและส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ
ในขณะนี้มีโครงการภาย ใต้กรอบนโยบายการพัฒนา SME ของอาเซียนจำนวนทั้งหมด 20 โครงการ โดยมีโครงการที่สำคัญดังนี้ การสร้างเครือข่ายบริษัทการค้า SMEs ในกลุ่มประเทศอาเซียน การจัดตั้งกองทุนพัฒนา SMEs และการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์ให้บริการครบวงจรสำหรับ SMEs ในภูมิภาค
ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของอาเซียน
การประชุมสุดยอดอา เซียน ครั้งที่ 14 (The 14th ASEAN Summit) ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 1 มีนาคม 2552 ประเทศอาเซียนได้มีมติเห็นชอบที่จะให้ความสำคัญในเรื่องการส่งเสริมการเดิน ทางท่องเที่ยวภายในภูมิภาค (Intra-ASEAN Travel and Tourism) เพื่อให้เกิดการกระตุ้นทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาค
แนวทางการส่งเสริมการ พัฒนาการท่องเที่ยวของ อาเซียน ได้แก่ การส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับเยาวชน การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว ของอาเซียน ระหว่าง ปี 2554-2558   
การเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวของอาเซียน และการสร้างมาตรการจูงใจให้นัก ท่องเที่ยวที่มีสัญชาติอาเซียนเดินทางในภูมิภาคมากขึ้น  การส่งเสริมการจัด กิจกรรมท่องเที่ยวทางเรือสำหรับเยาวชน  การสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว กับ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดียและรัสเซีย โดยเน้นการกระตุ้นให้เกิดการท่อง เที่ยวระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศเครือข่ายให้มากขึ้น ทั้งนี้ ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากตลาดท่องเที่ยวอาเซียนและการสร้างจุดขายร่วม กับประเทศอาเซียนให้กับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก โดยขณะนี้อาเซียนได้มีการจัดทำกรอบความตกลงยกเว้นการตรวจลงตรา (visa exemption) ให้กับนักท่องเที่ยวอาเซียนและกำลังเจรจาจัดทำความตกลง single visa ให้กับนักท่องเที่ยวจากประเทศที่สาม
การส่งเสริมให้เกิด ความเชื่อมโยงของเส้นทางท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN Tourism Connectivity Corridors) จะสอดคล้องกับนโยบายการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัดของประเทศไทยและสมาชิกอาเซียน โดยแต่ละประเทศอาเซียนจะจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างกันเพื่อส่ง เสริมการเดินทางท่องเที่ยวภายในภูมิภาค (Intra-ASEAN Travel and Tourism) ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาของไทยก็ได้จัดทำโครงการ ASEAN Family Car Rally ระหว่างวันที่ 1-3 มีนาคม 2552 ที่อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา  และวันที่ 8-10 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดพิษณุโลก เพื่อสนับสนุนนโยบายดังกล่าวของอาเซียน
เนื่องจากการท่อง เที่ยวมีบทบาทสำคัญในการบรรเทาปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ อาเซียนจึงสนับสนุนการเดินทางท่องเที่ยวของเยาวชนโดยประกาศให้ปี 2552-2553 เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวเยาวชน (Youth Travellers’Years 200-2010) ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาของไทยก็ได้จัดทำโครงการเพื่อสนับสนุนการเดิน ทางของเยาวชน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการยุวทูตท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Youth Ambassadors) ระหว่างวันที่ 15-24 มกราคม 2552 และโครงการฟุตบอลเยาวชนอาเซียน (ASEAN Youth Football Cup) ในเดือนมิถุนายน 2552
อาเซียนได้ร่วมหารือ กันในการหาแนวทางการกระตุ้นธุรกิจการท่องเที่ยวที่กำลัง ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจของโลกอยู่ในขณะนี้ โดยพยายามฟื้นฟูการท่องเที่ยวและจัดให้มีการนำเที่ยวในรูปแบบใหม่เพื่อ ดึงดูดลูกค้า นอกจากนี้ยังได้มีการหารือกันถึงเรื่องการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว อาเซียน พ.ศ. 2554-2558  (ASEAN Tourism Strategic Plan 2011-2015) การส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมโยงของเส้นทางท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอาเซียน การจัดตั้ง ASEAN Tourism Investment Corridor และวางแผนร่วมกันในการคัดเลือกโรงแรมในประเทศอาเซียนให้ใช้ชื่อ ASEAN Green Hotel การจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวของอาเซียน จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม รวมทั้งจัดฝึกอบรมภาษาให้กับมัคคุเทศก์ของ สมาชิกอาเซียนและจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องการตลาดให้กับเจ้าหน้าที่ ด้านการท่องเที่ยวของอาเซียน











 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น